การขัดต้นไม้และโชคลาภในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 53
หน้าที่ 53 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ กล่าวถึงการขัดต้นไม้เพื่อหาเลขเด็ดไปซื้อหวย โดยมีการชี้ให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของโชคลาภและความผิดหวังที่เกิดขึ้นจากการเสี่ยงโชค นอกจากนี้ยังเสนอเรื่องราวของสิงคาลกะ ชายหนุ่มที่มีความหลงผิดแม้จะมีมารดาบิดาเป็นพระโสดาบัน การขาดการอบรมที่ดีทำให้เขาไม่รู้จักนอบน้อมทิศทั้งหลาย ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายต่อมรดกของเขาในอนาคต ขณะเดียวกันพระโสดาบันแสดงถึงระดับสูงของบุคคลในพระพุทธศาสนาที่จะไม่ตกต่ำอีก โดยจะบรรลุพระนิพพานในที่สุด

หัวข้อประเด็น

-โชคลาภและการเสี่ยงโชค
-ความสำคัญของการอบรม
-ตัวอย่างจากสิงคาลกะ
-พระโสดาบันและการบรรลุธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ ขัดต้นไม้เพื่อหาเลขเด็ดไปซื้อหวยกัน อาจมีบางคนซึ่งมีโชคแล้วถูกหวยบ้าง แต่ส่วนใหญ่ล้วนเสียเงินเสียทองฟรี กล่าวได้ว่า ยิ่งเสี่ยงโชคก็ยิ่งฝืดเคือง มากยิ่งขึ้น บรรดาต้นไม้ภูเขา แม่น้ำ ตลอดจนผีสางเทวดา ไม่ใช่ที่พึ่งอัน เกษม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดม จึงไม่สามารถช่วยให้คนเราพ้นทุกข์ พ้นภัยได้ ตัวอย่างเช่น ในสมัยพุทธกาล ก็มีคนที่มีความเชื่อดังกล่าวอยู่มากมาย และ มีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายแห่ง เรื่องของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อสิงคาลกะ ซึ่งมีนิสัยดื้อรั้นอวดดี ทำนองเดียว กับเด็กวัยรุ่นปัจจุบันที่ขาดการอบรมฝึกฝนด้านศีลธรรม คุณธรรมนั่นแหละ แม้มีมารดาบิดาเป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่ง อีกทั้งเป็นพระโสดาบัน ทั้งคู่ แต่อาจ จะไม่มีเวลาอบรมบุตรมากพอ จึงไม่สามารถอบรมสั่งสอนสิงคาลกะให้ เลื่อมใสศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเหมือนกับตน ก่อนหลับตาลาโลก บิดาจึงให้โอวาทบุตรชายเพียงสั้นๆ ว่า “ลูก จงนอบน้อมทิศทั้งหลาย” ที่ให้โอวาทเช่นนี้ก็อาจเป็นเพราะคาดหวังว่า เมื่อ พระบรมศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลาย เห็นชายหนุ่มไหว้ทิศต่างๆ ซึ่งเป็น ทิศทางด้านภูมิศาสตร์ก็จักแสดงธรรมชี้แจง ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า “นอบน้อมทิศทั้งหลาย” ให้แก่สิงคาลกะ เมื่อถึงเวลานั้นเขาคงจะเกิดความ เข้าใจถูก สามารถครองตนให้เป็นคนดีได้ ตลอดทั้งสามารถรักษามรดก ๔๐ โกฏิของบิดาไว้ได้ ไม่ให้อันตรธานสูญสิ้นไปเพราะกรรมชั่ว หรือเพราะ ๓ ประการได้โดยเด็ดขาดจะ ๑ พระโสดาบัน คือ พระอริยบุคคลชั้นต้นในพระพุทธศาสนา มีความเที่ยงแท้แน่นอนว่า ชีวิตจะไม่ตกต่ำอีกแล้ว ทั้งนี้เพราะสามารถปราบกิเลสรากเหง้า ไม่งอกขึ้นมาอีกเลยคือ (๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒) วิจิกิจฉา (ความ สงสัย) ๓) สีลัพพตปรามาส (ถือศีลและวัตรที่งมงายไม่สนใจเรื่องสมาธิและปัญญา) ส่วน กิเลสที่เหลือก็จะถูกปราบให้ลดลงเรื่อยๆ และจะหมดสิ้นไปในอนาคตไม่เกิน ๗ ชาติ นั่นคือ จะสามารถบรรลุพระนิพพานภายในอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More