ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๗)
ถ้าการกระทําดังกล่าวของฝ่ายลูกจ้างยังไม่ได้รับการสนอง
ตอบจากฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้างก็อาจใช้วิธีปล่อยข่าวป้ายสีนายจ้าง
เป็นการสร้างกระแสสังคม เพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ทั้งนายจ้าง บริษัท
หรือองค์กร
อนึ่ง ลูกจ้างบางคนอาจให้ร้ายเพื่อนร่วมงานที่เป็นคนโปรด
และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากเจ้านายเกินหน้าพวกตน และถ้า
ลูกจ้างคนนั้นหลงตัวเองคิดว่ามีบารมีนายจ้างคอยคุ้มหัวอยู่ แล้วกล่าววาจา
เย้ยหยัน ถากถาง เป็นการตอบโต้ฝ่ายที่ให้ร้ายตน ความแตกแยกร้าวลึก
ระหว่างผู้คนคือบรรดาลูกจ้างในองค์กร ย่อมจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
เพราะลูกจ้างคนนั้นก็ย่อมจะมีพรรคพวกสนับสนุนอยู่เหมือนกัน
๓) ทำลายองค์กรทางอ้อม สงครามน้ำลายระหว่างลูกจ้างใน
องค์กรในลักษณะดังกล่าว ย่อมยากที่จะจบลงได้ง่ายๆ เพราะฝ่ายที่ก่อ
หวอดไม่มีความเกรงใจนายจ้าง ในที่สุดเรื่องก็อาจจะบานปลายไปถึงขั้น
ก่อการวิวาทและทำร้ายกัน จนถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม ถ้าคู่กรณีที่วิวาทกันมีเพียง ๒ - ๓ คนก็อาจ
จะมีการไกล่เกลี่ยให้เรื่องยุติได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่คู่กรณี
เป็นลูกจ้างหมู่มากที่รวมหัวกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ก็ยากที่จะประสานรอยร้าวได้
และองค์กรแห่งนั้นก็ยากที่จะประสบความเจริญก้าวหน้า นี่คือส่วนหนึ่ง
แห่งโทษภัยอันเกิดจากความลําเอียงของทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
นอกจากนี้ ในกรณีที่ลูกจ้างบางคนหรือส่วนมาก ไม่ได้รับ
ความเป็นธรรมจากนายจ้าง ลูกจ้างเหล่านั้นก็อาจจะหาทางกลั่นแกล้ง
นายจ้างเป็นการตอบโต้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น อู้งาน คือ เข้าทำนองไม่หลบ
ไม่รู้ ก็สู้ไม่ไหว ได้หลบ ได้ ก็รู้กันไป หรือที่ร้ายกว่านั้น ก็อาจใช้วิธี
ทําลายคุณภาพสินค้าโดยใช้วัสดุต่ำกว่ามาตรฐานบ้าง ปลอมปนสินค้าบ้าง
หรือมิฉะนั้นก็นัดกันลาป่วยพร้อมๆ กันหลายๆ คน หรือนัดกันลาออก
น
๒๒๑