บทวิเคราะห์อบายมุข คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 223
หน้าที่ 223 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการมองอบายมุขทั้งในด้านดีและด้านลบ โดยมีการโฆษณาเกี่ยวกับการดื่มสุราและการเสพยาที่มีการโปรโมทในทางบวก แม้มีผลกระทบที่ร้ายแรง จากนั้นมีการเปรียบเทียบผู้ที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และสะท้อนให้เห็นถึงความหลงผิดในสังคมที่มักมองอบายมุขในแง่ดีทั้งที่มีพิษสงรอบตัว

หัวข้อประเด็น

-การโฆษณาอบายมุข
-ผลกระทบของอบายมุข
-ความหลงผิดในสังคม
-ประเภทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ เป็นสิ่งเลวร้ายเสียทั้งหมดทีเดียว ยังมีส่วนดีอยู่บ้างเหมือนกัน แล้ว พยายามโฆษณาประชาสัมพันธ์คุณของอบายมุข เช่น ชี้แนะว่าการดื่มสุรา เมรัยพอประมาณ เป็นการย้อมใจให้ฮึกเหิม กล้าทำบางสิ่งบางอย่างได้ โดยปราศจากความลังเลหรือขลาดกลัว การดื่มสุราเมรัยเป็นการกระชับ มิตรได้เป็นอย่างดี การดื่มสุราเมรัยเป็นการดับทุกข์และสร้างสุข ดังที่ สมัยหนึ่งมีการโฆษณาสุราต่างประเทศว่า “ความสุขที่คุณดื่มได้ แม้ยาบ้าเมื่อเสพเข้าไปแล้วจะทำลายสมอง แต่ก็มีการ โฆษณาชวนเชื่อกันว่า เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ประสาทจะตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ทำให้สามารถทำงานได้ทั้งวันทั้งคืน หรือช่วยให้ นักเรียนนักศึกษาที่ดูหนังสือเตรียมสอบไล่ไม่รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลีย ปัจจุบันนี้ทุกท่านคงได้ประจักษ์กันโดยทั่วไปถึงพิษสงของยาบ้ากันแล้วว่า ร้ายแรงแพียงใด น สําหรับการพนัน แม้จะทำให้ผู้แพ้เป็นทุกข์ บางคนถึงกับสิ้น เนื้อประดาตัวก็ตาม แต่ก็ยังมีนักการพนันปลอบใจกันว่า ถ้าวันใดโชคดีก็ อาจเป็นเศรษฐีร่ำรวยได้ และวันนั้นนักการพนันที่มีหนี้สินก็จะสามารถ ปลดหนี้สินลงได้ อาจกล่าวได้ว่า ความหลงผิดเป็นมิจฉาทิฏฐินั่นเอง ที่ทำให้ ผู้คนไม่น้อยหลงเชื่อคำโฆษณา หรือคิดเอาเองว่าอบายมุขมิได้มีแต่โทษ ภัยอย่างเดียว แต่ทว่ายังมีคุณอยู่เหมือนกัน ๓) พัวพันเกี่ยวข้องอบายมุข ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับ อบายมุข อาจแยกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ผู้คนที่เข้าไป หาความสนุกสนานกับอบายมุข ๒) ผู้ที่ทำธุรกิจอบายมุข ถามว่าคน ๒ ประเภทนี้ ใครเลวกว่ากัน? ถ้ายึดเอาความคิดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ตอบได้ว่าคนทั้ง ๒ ๒๐๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More