คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 186
หน้าที่ 186 / 397

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงคุณสมบัติของคนดีที่มีอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น, ความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจและจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการปฏิบัติตามอริยวินัยเพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมในสังคมที่อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องจากบุคคลในสังคม การฝึกฝนปฏิบัติตนให้เป็นคนดีและมีกัลยาณมิตรช่วยเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิในสังคม

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-การปฏิบัติตนตามอริยวินัย
-ความวิบัติทางสังคม
-การปลูกฝังมิตรภาพในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ จากธรรมบรรยายตั้งแต่บทที่ ๒ เป็นต้นมา เราได้ทราบแล้วว่า คนดีจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ๔ ประการ คือ ๑. มีความสํานึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของ ตนเอง โดยมีอริยวินัย ไม่ปฏิบัติกรรมกิเลส ๔ ประการอย่างเด็ดขาด ๒. มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมหรือต่อศักดิ์ศรีแห่งความ เป็นมนุษย์ของผู้อื่น โดยมีอริยวินัย ไม่แสดงอคติ ๔ ประการอย่างเด็ด ขาด ๓. มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ โดยไม่ พัวพันหรือข้องเกี่ยวอบายมุข 5 ประการอย่างเด็ดขาด ๔. มีความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 5 และต่อสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติ ด้วยการมีอริยวินัยปิดป้องทิศ 5 และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างเด็ดขาด วิธี จากในบทที่ 5 เรื่อง ผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ ทำให้เราได้ทราบว่าการ ประพฤติปฏิบัติตนตามอริยวินัย ซึ่งกำหนดเป็นหน้าที่ของบุคคลแต่ละ คนในทิศ 5 และบุคคลที่เป็นศูนย์กลางต้องปฏิบัติต่อกัน คือ การปลูกฝังอบรมผู้คนในสังคมให้เกิดสัมมาทิฏฐิ เป็นคนดี บัณฑิต มิตรแท้ หรือกัลยาณมิตร แต่ถ้าบุคคลใดละเลย ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ของตน ความเสียหายย่อมจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ กลายเป็น ปัญหางูกินหาง และก่อให้เกิดความวิบัตินานาประการ จนเป็นมหาวิบัติ ของสังคมในที่สุด ต่อไปนี้ ขอให้เรามาร่วมพิจารณาความวิบัติที่จะเกิดในแต่ละ ทิศ ว่าบุคคลจะมีความคิด ลักษณะนิสัย และแสดงพฤติกรรมอย่างไรกันบ้าง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More