ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๒
แต่เป็นความคิดด้านทำลาย
ดังนั้น กรรมกิเลส จึงเป็นการกระทําของคนที่ตกอยู่ในอานาจ
กิเลส ซึ่งล้วนแต่เป็นกรรมชั่ว เป็นบาปกรรม พระพุทธองค์จึงตรัสเรียกว่า
“กรรมกิเลส” คนดีมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ย่อมไม่ทำกรรมกิเลสโดยเด็ดขาด
ในเรื่องกรรมกิเลส ๔ นี้ เราอาจพิจารณาให้เข้าใจได้ด้วยเหตุผล
ง่ายๆ ย่อๆ คือ
๑. ตามปกติ ชีวิตของใคร ใครก็รัก คนดีที่มีสติสัมปชัญญะ
บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสครอบงำ ย่อมตระหนักในข้อนี้ดี ดังนั้น ใครๆ
ที่มีสติสัมปชัญญะดี ไม่ใบ้บ้า ปัญญาอ่อน ก็ต้องไม่ฆ่าใคร ถ้าใครฆ่าคน
อื่น สัตว์อื่น ย่อมแสดงว่ากระทำไปเพราะตกอยู่ในอำนาจกิเลส ดังนั้น
ปาณาติบาต จึงจัดเป็น กรรมกิเลส
๒. ตามปกติ ใคร ๆ ก็ต้องมีทรัพย์ จึงจะสามารถเลี้ยงชีวิตให้
ยืนยาวต่อไปได้ ถ้าขาดแคลนทรัพย์ แม้ไม่ถึงตาย ก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ ดัง
นั้น ใครๆ ก็ต้องไม่ลักขโมยทรัพย์ของใคร รวมไปถึงไม่คดโกงใคร ไม่
คอรัปชั่นอีกด้วย ถ้าใครก็ตามที่ไปลักทรัพย์ หรือถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น
มาเป็นของตนอย่างผิดทำนองคลองธรรม ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นของส่วนบุคคล
หรือของส่วนรวมก็ตาม แสดงว่าทำไปด้วยอำนาจกิเลสที่ครอบงำใจ ดัง
นัน อทินนาทาน จึงจัดเป็น กรรมกิเลส
๓. ตามปกติใครๆ ก็ตามที่คนรักของเขา ไม่ว่าจะเป็นภรรยา สามี
หรือบุตรถูกล่วงละเมิด ย่อมรู้สึกเจ็บช้ำระกำาใจและอับอายขายหน้า ฉะนั้น
ใครๆ ก็ต้องไม่ล่วงละเมิดทางเพศ ภรรยา สามี บุตรของใครตลอดจนผู้
ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้อื่นด้วย ใครล่วงละเมิดย่อมแสดงว่าทำไปด้วยอำนาจ
กิเลสที่ครอบงำใจ ดังนั้น กาเมสุมิจฉาจาร จึงจัดเป็น กรรมกิเลส