คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์: การตั้งเป้าหมายชีวิตด้วยสัมมาทิฏฐิ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 286
หน้าที่ 286 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้นำเสนอความสำคัญของสัมมาทิฏฐิในการตั้งเป้าหมายชีวิต ที่สอนให้เข้าใจถึงคุณค่าและเหตุผลที่เรามีชีวิตอยู่ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรรมดีและกรรมชั่ว โดยยกตัวอย่างหลักธรรมอำนวยประโยชน์สุข 3 ประการ ซึ่งได้แก่ ประโยชน์ชาตินี้, ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์สูงสุดที่เกี่ยวข้องกับนิพพาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นสุขยั่งยืน รวมถึงการหลีกเลี่ยงกรรมชั่วที่จะนำมาซึ่งความทุกข์และความเดือดร้อนในอนาคต การเข้าใจในธรรมชาติของกรรมจะทำให้เราเลือกเส้นทางชีวิตที่ถูกต้องและมีความหมาย

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ
-การตั้งเป้าหมายชีวิต
-กรรมดีและกรรมชั่ว
-บำเพ็ญบารมี
-หลักธรรมอำนวยประโยชน์สุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ๒๗๒ สัมมาทิฏฐินำไปสู่การตั้งเป้าหมายชีวิต ๑ ได้กล่าวไว้ในช่วงท้ายของบทที่ ๑ แล้วว่า บุคคลที่สามารถตรอง ตามสาระของสัมมาทิฏฐิ จากระดับที่ ๑ มาตามลำดับจนถึงระดับสุดท้าย ทำให้ยอมรับ และเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง กลายเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิอย่าง สมบูรณ์ สามารถเข้าใจได้ด้วยปัญญาของตนได้ทันทีว่า คนเราเกิดมา ทำไม รู้ชัดว่าคนเราเกิดมาเพื่อสร้างกรรมดีเท่านั้น จะต้องหลีกเลี่ยง กรรมชั่วอย่างเด็ดขาด เพราะกรรมดีคือเหตุปัจจัยแห่งความสุขที่ยั่งยืน ส่วนกรรมชั่วนั้นในบางกรณีดูเหมือนจะก่อให้เกิดความพอใจหรือความ สะใจ แต่ในที่สุดแล้ว จะนำความทุกข์และความเดือดร้อนมาให้ ซึ่ง สามารถสัมผัสได้เองในชาตินี้ โลกนี้มี) ส่วนวิบากของกรรมชั่วในชาติ หน้า โลกหน้ามี) เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะสาหัสสากรรจ์เพียงใด จากการศึกษาเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้ง แต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ จากหลักธรรมอำนวยประโยชน์สุข และจาก โอวาทปาติโมกข์ จากการพิจารณาเรื่องทศบารมี โดยมีความสัมพันธ์กับหลักธรรม อำนวยประโยชน์สุข 5 และโอวาทปาติโมกข์ ๆ ทำให้มีท่านผู้รู้สรุปลงว่า ៣ ๒ หลักธรรมอำนวยประโยชน์สุข ประกอบด้วย ประโยชน์ ๓ คือ ๑) ประโยชน์ชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๒) ประโยชน์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถประโยชน์) ๓) ประโยชน์อย่างยิ่ง (ปรมัตถประโยชน์ - นิพพาน)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More