ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๓
ทำอย่างอื่น คือละเว้นบาปกรรม ๑๔ ประการเป็นลำดับแล้ว ก็ประสบ
ความสุขความเจริญ ไม่ประสบปัญหาเดือดร้อนดังที่ชายหนุ่มประสบอยู่
ครั้นเมื่อตายไปก็ไม่ต้องตกนรก แต่ได้ไปสู่สวรรค์
V
แม้ปัญญาจะยังหย่อนอยู่ อาจจะยังไม่เข้าใจพระพุทธโอวาท
ได้ลึกซึ้งนัก แต่ชายหนุ่มก็พอจะตรองได้บ้างแล้วว่า วิธีการของเขาน่าจะ
ไม่ถูกต้องและไม่สามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ แต่พระพุทธโอวาทน่าจะแก้
ปัญหาได้สำเร็จ เพราะเป็นอริยวินัยที่อริยสาวกปฏิบัติกัน อีกทั้งพระพุทธ
องค์ก็ทรงยืนยันถึงประสิทธิผลของอริยวินัยไว้แล้ว สิงคาลกะย่อมจะเกิด
ความคิดเลื่อมใสศรัทธาและเกิดความเคารพในพระพุทธองค์อย่างแน่นอน
เมื่อได้ทรงปลูกศรัทธาไว้แล้ว พระองค์จึงทรงบ่มอินทรีย์ของ
ชายหนุ่มให้แก่กล้ายิ่งขึ้น ด้วยการชี้ให้เห็นโทษของบาปกรรมเหล่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขั้นแรก พระพุทธองค์ทรงสอนชายหนุ่ม ๕๓
มิให้กระทำบาปกรรมทั้ง ๑๔ ประการโดยเด็ดขาด โดยให้ยึดเป็นวินัย
ควบคุมความประพฤติทางกายกับวาจาไว้ให้ได้ก่อน ไม่ว่าเขาจะตรองเห็น
โทษของการกระทำบาปกรรมเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม
ขั้นตอนที่สอง พระพุทธองค์ก็ทรงชี้โทษของบาปกรรมของแต่
ละกลุ่ม แต่น่าสังเกตว่า ในเรื่องกรรมกิเลส ๔ และอคติ ๔ พระองค์
ทรงชี้โทษเพียงสั้นๆ ในลักษณะคาถาประพันธ์เชิงอุปมา สำหรับเอาไว้
ท่องให้ขึ้นใจเท่านั้น คือ
ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท และการคบหาภรรยา
ผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นกรรมกิเลส บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ
และผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความ
กลัว ความหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนดวงจันทร์ในข้างแรม