คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 250
หน้าที่ 250 / 397

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์สำรวจการกระทำของคนอคติที่อาจสร้างความรุนแรงตามผลประโยชน์ที่คาดหวัง โดยเฉพาะในกรณีของคฤหัสถ์ที่ขาดความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ อบายมุขไม่เพียงแค่การพนัน แต่รวมถึงการกระทำที่นำมาซึ่งความฉิบหาย นอกจากนี้ยังเน้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจผู้นำเพื่อไม่ให้ตกเป็นทาสของอบายมุข การปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เล็กถือเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

- ผลกระทบของอบายมุข
- ความรับผิดชอบในเศรษฐกิจ
- การปลูกฝังคุณธรรม
- อบายมุขและจิตใจ
- คฤหัสถ์และศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ สังหารกันบ้าง กล่าวได้ว่า การกระทำของคนอคติจะมีความรุนแรงเพียง ใดนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณค่าแห่งผลประโยชน์ที่เขาคาดหวังเป็นสำคัญ ๓. คฤหัสถ์ขาดความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ถ้าพระภิกษุขาดอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของท่านให้สมบูรณ์ ผลเสียที่จะเกิดประการที่ ๓ คือ คฤหัสถ์ไม่มีความสำนึกรับผิดชอบต่อ ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยการเกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุขเป็นอาจิณ ซึ่ง จะเกิดเป็นลักษณะนิสัยและแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) นิยมชมชอบอบายมุข โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงอบายมุข คน ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการพนัน แท้ที่จริง อบายมุข หมายถึง เหตุหรือการ กระทำที่นำความฉิบหายมาสู่ผู้ปฏิบัติ การพนันเป็นเพียงเหตุอย่างหนึ่ง เท่านั้นในอบายมุข ๖ ประการ เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบัน ตามเมืองใหญ่โดยทั่วไปนั้น พร้อมที่จะชักจูง โน้มน้าวหรือผลักดันผู้คนทุกเพศทุกวัย เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุข 5 ประการตลอดเวลา แต่ผู้ที่จิตใจมีภูมิคุ้มกันดี ย่อมสามารถปกป้อง คุ้มครองตนเอง ให้รอดพ้นจากการตกเป็นทาสของอบายมุขได้ บุคคลที่จะมีภูมิคุ้มกันจิตใจ คือ สัมมาทิฏฐิ และหิริ โอ ตตัปปะมั่นคง ไม่คลอนแคลนเปลี่ยนเป็นมิจฉาทิฏฐิ โดยทั่วไปแล้วจะ ต้องได้รับการปลูกฝังอบรมมาอย่างดีตั้งแต่เล็กแต่น้อยจากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวาเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันทิศทั้ง 5 นี้ก็มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม ให้ยึดเอาเป็นตัวอย่างได้เสมอ มิใช่เป็นประเภทสอนลูกหรือลูก ศิษย์ให้ทำดี แต่ผู้สอนกลับประพฤติตรงข้าม เยาวชนประเภทนี้ย่อมหวัง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More