คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 222
หน้าที่ 222 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมเศรษฐกิจ และอิทธิพลของอบายมุขที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การนิยมชมชื่นกับอบายมุขตั้งแต่เด็ก การขาดการสนับสนุนของเพื่อนฝูงในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรต่อคุณธรรม การโจมตีคุณค่าของอบายมุข แม้จะชัดเจนว่าเป็นอันตรายตามประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายนิสัยที่ไม่ดีจากการขาดอริยวินัยและการทำหน้าที่ที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การปฏิรูปมนุษย์
-ผลกระทบจากอบายมุข
-ความรับผิดชอบต่อศีลธรรม
-นิสัยไม่ดีในสังคม
-การสนับสนุนจากเพื่อน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๐๘ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ลักพาตัว บุตร ภรรยา ของคู่อริ - ลอบวางยาพิษคู่อริ ทําใบปลิวโจมตีคู่อริ ฯลฯ ๓. เพื่อนขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ถ้าเพื่อนขาดอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ผล เสียที่จะเกิดขึ้นประการที่ ๓ คือ เพื่อนจะไม่มีความสำนึกรับผิดชอบต่อ ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพัวพันกับอบายมุข ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะ นิสัยและแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) นิยมชมชื่นอบายมุข ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันด้านจิตใจน้อย เนื่องจาก ได้รับการปลูกฝังอบรมลักษณะนิสัยและคุณธรรมของมิตรแท้ จากทิศ เบื้องหน้าและเบื้องขวาน้อย อีกทั้งไม่เคยสัมผัสกับรสแห่งธรรมจากทิศ เบื้องบนเลย เขาก็อาจจะเข้าไปพัวพันกับอบายมุขมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเพื่อนฝูงร่วมชั้นเรียนหรือสถาบันการศึกษาของเขาไม่ทำหน้าที่ กัลยาณมิตร นำพาเขาให้พ้นออกมาจากวงจรอุบาทว์นั้นเขาก็จะพัวพัน เกี่ยวข้องกับอบายมุขเรื่อยไป จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเข้าไปสู่วงการอา ชีพแล้วก็ยังนิยมชมชื่นอบายมุข โดยมองข้ามโทษภัยไปเสีย มองเห็นแต่ คุณของอบายมุข นี่คือความคิดมิจฉาทิฏฐิโดยแท้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากจะ แก้ไขให้เขาเปลี่ยนมาเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒) โฆษณาชวนเชื่อคุณของอบายมุข แม้อบายมุขจะนำพาผู้คน ไปสู่ความหายนะมาทุกยุคทุกสมัยก็ตาม แต่ก็มีผู้คนคิดว่าอบายมุขมิได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More