การปฏิบัติต่อทิศ 5 ตามอริยวินัย คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 335
หน้าที่ 335 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้ว่าด้วยการแบ่งบุคคลออกเป็นทิศ 5 โดยพระพุทธองค์ ซึ่งรวมถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในแต่ละทิศ ตามหลักธรรมของอริยวินัย. โดยเฉพาะการปฏิบัติอย่างถูกต้องนั้นมีผลต่อการปิดป้องโทษภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำผิด. การรักษาอริยวินัยอย่างครบถ้วน จะช่วยให้บุคคลและทิศ 5 ปลอดภัยจากภัยทั้งปวง. เรื่องราวนี้ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติตนเป็นคนดีและปราศจากบาปกรรม 14 ประการ.

หัวข้อประเด็น

- การแบ่งทิศ 5
- อริยวินัย
- การปฏิบัติหน้าที่
- ผลของการปฏิบัติถูก
- การปิดป้องภัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแบ่งบุคคลแวดล้อมตัวเราออกเป็นทิศ 5 แล้ว ก็ทรงบัญญัติหน้าที่เป็นอริยวินัย ให้ตัวเราปฏิบัติต่อทิศ 5 อย่าง น้อยทิศละ ๕ ข้อ และทิศ 5 ก็ต้องมีอริยวินัยปฏิบัติต่อตัวเรา อย่าง น้อยทิศละ 4 ข้อ ยกเว้นทิศเบื้องบน ทรงบัญญัติหน้าที่ให้ปฏิบัติต่อ คฤหัสถ์ ๖ ข้อ ผู้ปิดป้องทิศ ๖ มีความหมายอย่างไร? ถ้าตัวเรามีอริยวินัย ปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ไว้ต่อทิศต่างๆ อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ย่อมได้ชื่อว่า “ปฏิบัติถูก” ถ้า ปฏิบัติบกพร่อง ย่อมได้ชื่อว่า “ปฏิบัติผิด” ขณะเดียวกัน ถ้าทิศ 5 ของ เราแต่ละทิศ มีอริยวินัย ปฏิบัติหน้าที่สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ย่อมได้ชื่อว่า “ปฏิบัติถูก” ถ้าปฏิบัติบกพร่อง ย่อมได้ชื่อว่า “ปฏิบัติผิด” ถ้าตัวเราปฏิบัติถูก แต่ทิศ 5 ของเรา หรือแม้เพียงทิศใดทิศ ๓๒๑ หนึ่งในทิศ 5 ของเราปฏิบัติผิด โทษภัยต่างๆ ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นแก่ ตัวเรา นั่นคือ เราไม่สามารถปิดป้องทิศ 5 ได้ ถ้าตัวเราปฏิบัติผิด แต่ทิศ 5 ของเราปฏิบัติถูก โทษภัยย่อม เกิดขึ้นแก่ตัวเรา อย่างแน่นอน นั่นคือ เราไม่สามารถปิดป้องทิศ 5 ได้ ถ้าทั้งตัวเราและทิศ 5 ของเราปฏิบัติถูก โทษภัยต่างๆ ย่อม ไม่เกิดขึ้นแก่ตัวเรา นั่นคือเราสามารถปิดป้องทิศ 5 ได้ เพราะฉะนั้น จึง กล่าวสรุปได้ว่า ผู้ปิดป้องทิศ 5 ก็คือคนดี ซึ่งมีทิศ ๖ เป็นคนดี จึงปราศ จากโทษภัยทั้งปวง จึงมีความ ดังนั้น จากพุทธพจน์ที่ว่า “อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจาก บาปกรรม ๑๔ ประการ นี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ 5 หมายว่า อริยสาวก หรืออริยบุคคลนั้น นอกจากจะปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการแล้ว ยังเป็นผู้มีอริยวินัย ปฏิบัติหน้าที่ต่อทิศ 5 ของท่าน โดยไม่บกพร่อง ขณะเดียวกันทิศ 5 ของท่านก็ปฏิบัติหน้าที่อันพึงปฏิบัติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More