คุณสมบัติของมิตรแท้และพฤติกรรมที่ดี คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 133
หน้าที่ 133 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของมิตรแท้ที่มีต่อกัน โดยแบ่งเป็น ๔ กลุ่มหลัก ได้แก่ การกล้าให้ฟังธรรม, การแนะนำการทำกรรมดี, การร่วมทุกข์ร่วมสุข และการสนับสนุนเพื่อน นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาศีล ๕ และการตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ซึ่งช่วยสร้างคุณธรรมและความรับผิดชอบในมิตรภาพ บทสรุปนี้ยังเตือนให้เรารู้จักในการเลือกมิตรแท้ที่มีน้ำใจดี ป้องกันสิ่งที่ไม่ดีและส่งเสริมให้ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องเพื่อให้สังคมอยู่ในความสงบสุขและมีความรักใคร่กัน.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของมิตรแท้
-พฤติกรรมที่ดีของเพื่อน
-การทำกรรมดี
-ความรับผิดชอบต่อกัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๕ เป็นที่พึ่ง รักษาศีล ๕ และตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ๒ ๓) กล้าให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง คือ ให้เพื่อนฟังธรรมที่ละเอียด ลึกซึ้งที่ยังไม่เคยฟัง เพื่อเพิ่มพูนปัญญา ๔) กล้าบอกทางสวรรค์ให้ คือแนะนำให้ทำกรรมดี ซึ่งจะนำ ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ พฤติกรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ ล้วนแสดงถึงความกล้ารับผิดชอบที่ มิตรแท้มีต่อเพื่อน ๔. พฤติกรรมของมิตรมีความรักใคร่ ๔ ประการ ๑) เมื่อเพื่อนทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย ไม่ว่าทรัพย์สินบริวาร หรือตัว เพื่อนเองประสบปัญหาเดือดร้อน มิตรแท้ก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย ๒) เมื่อเพื่อนสุขก็สุขด้วย มีความยินดีอย่างจริงใจในความ ๑๑๕ สำเร็จของเพื่อน แม้ว่าเพื่อนจะได้ดิบได้ดีแซงหน้าตน ก็ไม่คิดอิจฉาริษยา ๓) กล้าห้ามปราม หรือโต้เถียงคัดค้านผู้ที่กล่าวโทษ หรือนินทา เพื่อน ๔) กล้าให้คำรับรองสนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน ว่าเพื่อน เป็นคนดีจริงตามที่เขาพูด พฤติกรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงถึงน้ำใจของมิตรแท้ ที่รัก เพื่อน และมีความกล้ารับผิดชอบต่อเพื่อนอย่างจริงใจ พฤติกรรมอันดีงามของมิตรแท้ ๔ ประเภท ประเภทละ ๔ ประการ เมื่อรวมกันก็จะได้พฤติกรรมอันดีงามของมิตรแท้ ๑๖ ประการ ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกว่า “ตะแกรงกายสิทธิ์ร่อนหามิตรแท้” ๒ ตรงข้ามกับ อกุศลกรรมบถ ๑๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More