ความรับผิดชอบของศิษย์และครูอาจารย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 159
หน้าที่ 159 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของศิษย์และครูอาจารย์ในแนวคิดพุทธศาสนา โดยเน้นว่าศิษย์ต้องมีความรู้และความเข้าใจในการศึกษาที่ครูสอน และการปฏิบัติตนอย่างดี ในขณะที่ครูต้องมีความรักและห่วงใยต่อศิษย์ ความสัมพันธ์นี้ช่วยสร้างสังคมที่มีมิตรภาพและความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ความห่างเหินระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์จะทำให้ศิษย์ขาดการปลูกฝังความเป็นมิตรแท้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น การมีมิตรแท้และมิตรเทียมในชีวิตประจำวัน ผู้คนจึงต้องพิจารณาถึงความสำคัญของการมีความสัมพันธ์ที่ดีในการศึกษาและการส่งต่อประเพณีในสังคมอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบของศิษย์
-บทบาทของครูอาจารย์
-อริยวินัยในการศึกษา
-ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์
-วัฒนธรรมการศึกษาในอดีต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ ศิษย์จะมีความรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ได้ครบทั้ง ๕ ประการ ก็เพราะครูเป็นคนดีจริง มุ่งอบรมสั่งสอนให้ศิษย์เป็นคนดี นอกจากนี้ ศิษย์เองก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในศิลปวิทยาที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน จนมั่นใจว่าตนจะนําไปประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตได้เป็นอย่างดี ศิษย์ที่ปฏิบัติตนดีมีอริยวินัยครบทั้ง ๕ ประการ ได้ชื่อว่า ศิษย์ ปิดป้องทิศเบื้องขวาดีแล้ว อนึ่ง จากหน้าที่รับผิดชอบของครูอาจารย์และของศิษย์ อันเป็น อริยวินัยที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้นี้ ย่อมชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมและ ประเพณีในการปฏิบัติหน้าที่อันพึงมีต่อกันระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ ใน สมัยพุทธกาลและสมัยโบราณกาลว่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก ศิษย์จึงมีโอกาสปรนนิบัติรับใช้ครูอาจารย์ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวมาก กว่าในระหว่างการเรียนการสอนศิลปวิทยาตามปกติ ขณะเดียวกันครู ๑๔๕ อาจารย์ก็มีความรักใคร่ ห่วงใย และหวังดีต่อศิษย์ ถึงขั้นทำการป้องกันใน ทิศทั้งหลายให้ศิษย์ อีกทั้งยกย่องศิษย์ให้ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง ซึ่งน่าจะทั้ง เพื่อนฝูงของครูอาจารย์และเพื่อนฝูงของศิษย์ ผิดกับครูอาจารย์ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใคร่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กับศิษย์ทุกๆ คน เหมือนครูอาจารย์ในกาลก่อน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก สาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าพิจารณาว่า ความห่างเหิน ระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ เป็นสาเหตุสำคัญยิ่งประการหนึ่ง ที่ทำให้ศิษย์ ไม่ได้รับการปลูกฝังความเป็น “มิตรแท้” เท่าที่ควรใช่หรือไม่ ผู้คนในสังคม ปัจจุบันซึ่งเป็นผลิตผลของครูอาจารย์ทั้งหลายจึงมีลักษณะเป็น "มิตรเทียม” เป็นส่วนใหญ่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More