มหาวิบัติของสังคมจากทิศเบื้องหน้า คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 187
หน้าที่ 187 / 397

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงวิบัติของสังคมที่เกิดจากการขาดความรับผิดชอบของบุตรที่พ่อแม่ไม่สามารถสร้างวินัยและการเรียนรู้ได้สำเร็จ ส่งผลให้เด็กไม่มีความรู้สึกถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รายละเอียดนี้ถูกอ้างถึงจากการประพฤติที่ผิดใน 4 ลักษณะ อาทิเช่น ไม่มีความสามารถในการแบ่งปันและไม่สามารถแยกแยะเรื่องดีชั่ว ทั้งยังสนใจแต่ผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่สนใจต่อบทเรียนที่สำคัญในการพัฒนาตนเอง สุดท้ายเด็กๆ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีเช่น วจีทุจริต เพื่อเอาตัวรอดและหลีกหนีจากความผิดในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-วิบัติของสังคม
-ความรับผิดชอบของบุตร
-ผลกระทบจากการเลี้ยงดู
-มิจฉาทิฏฐิ
-วจีทุจริต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗) มหาวิบัติของสังคมจากทิศเบื้องหน้า ๑. บุตรขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของ ตนเอง ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองขาคอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ให้ สมบูรณ์ ตามที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ในทิศเบื้องหน้านั้น ผลเสียที่ จะเกิดขึ้นประการแรก คือ บุตรทั้งหลายจะไม่มีความสำนึกรับผิดชอบ ต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง เพราะประพฤติกรรมกิเลส ๔ และ อยู่เป็นเนืองนิจ ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัยของบุตรตั้งแต่ยังเล็ก แสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ เริ่มต้นตั้งแต่เป็นเด็กขี้หวง ไม่คิดแบ่งปัน สิ่งใดๆ แม้กับพี่ๆ น้องๆ ไม่สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดดี-ชั่ว ผิดถูก ไม่รู้เรื่องบุญ-บาป ไม่เกรงใจแม้พ่อแม่ ไม่อายบาป ไม่กลัวบาป ไม่ อดทนต่อคำตักเตือน ไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจว่าเกิดมาทำไม ไม่รู้ว่า คนเราเกิดมาเพื่อแก้ไขตัวเองให้ดีวันดีคืนขึ้นมา ในที่สุดก็ปฏิเสธความดี ทุกชนิดที่เด็กพึงมีพึงเป็น หมดความน่ารัก น่าสงสาร ตั้งแต่ยังอยู่ในวัย เด็ก ๒) แสดงวจีทุจริต เพราะเหตุที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงกล่าววจีทุจริตได้ ทุกชนิด นับตั้งแต่พูดเท็จ พูดหยาบคาย พูดส่อเสียด พูดให้ร้ายป้ายสี พี่น้อง เพื่อนฝูงโดยไม่กระดากปาก เข้าทำนองพูดเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ตัวให้พ้นผิด หรือเพื่อหาผลประโยชน์ใส่ตัว ๑๗๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More