ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๕
จากพุทธภาษิตนี้ ย่อมหมายความว่า คนประเสริฐหรือคนดี คือ
ผู้ที่รู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรบุญ อะไรบาป อะไรควร
อะไรไม่ควร แล้วดำเนินชีวิตด้วยการเลือกทำแต่สิ่งที่ดี หาเลี้ยงชีพโดย
ทางที่ถูกต้องชอบธรรม เป็นสัมมาอาชีวะ มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมั่นสร้าง
บุญกุศล สิ่งใดเป็นบาปแม้น้อยก็ไม่ยอมแตะต้อง อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า
คนดี คือคนที่มีปกติ ๓ ประการ คือ
๑) คิดดี คือ ไม่คิดโลภ ไม่คิดพยาบาท มีความเข้าใจถูก
เป็นสัมมาทิฏฐิ คิดออกจากกาม
ขาด
๒) พูดดี คือ ละเว้นมุสาวาท (กรรมกิเลสข้อที่ ๔) ได้เด็ด
๓) ทำดี คือ ละกรรมกิเลส ๓
รักษาศีล ๓ ข้อแรก ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ข้อแรกได้เด็ดขาด หรือ
๑๒๓
เพราะฉะนั้น คนดีหรือบัณฑิต จึงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศีล
๕ เป็นอย่างน้อย นั่นคือ ละกรรมกิเลส ๔ ได้โดยเด็ดขาด มีใจบริสุทธิ์
สะอาด สว่าง และละเอียดอ่อน กิเลสบีบคั้นใจคนดีไม่ได้ เนื่องจากมีศีล
และสัมมาทิฏฐิ คนดีจึงละอคติ ๔ และอบายมุข ๖ ได้เด็ดขาด
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า “บัณฑิต” จะเป็นใครก็ได้ จะอ่าน
เขียนเป็นหรือไม่ จะมีปริญญาการศึกษาทางโลกหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สำคัญ
อยู่ตรงที่ ต้องมีศีลบริบูรณ์ คือเป็นคนใจสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ละเอียด
อ่อนนั่นเอง ผู้ที่จะมีศีลบริบูรณ์ได้ จะต้องมีอริยวินัยควบคุมพฤติกรรม
โดยตลอดทุกเรื่อง และมีปัญญาพิจารณาเรื่องต่างๆ อย่างแยบคายด้วย
โยนิโสมนสิการ ไม่ประมาท ไม่มักง่าย ไม่มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นอย่างไร้
เหตุผลสมควร และมีอุเบกขาธรรมเสมอ