คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 254
หน้าที่ 254 / 397

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ได้เน้นการเคารพในคุณความดีของบุคคลและสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญการดำเนินชีวิตและการเข้าถึงสุคติ โดยพระพุทธเจ้าได้สอนไว้ว่า ผู้ที่มีความเคารพในสิ่งที่ควรเคารพย่อมจะประสบผลดีในชีวิต ทั้งนี้มีธรรม ๗ ประการที่บุคคลควรเคารพ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น การปฏิบัติตามหลักคำสอนนี้จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงจากมิจฉาทิฏฐิและดำเนินชีวิตให้มีมาตรฐานของอริยชน ซึ่งสำคัญยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีผู้คนตกอยู่ในความมืดแห่งอำนาจกิเลสและขาดแสงสว่างในการนำทาง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของความเคารพ
-ธรรม ๗ ประการที่ควรเคารพ
-ผลของการเคารพในชีวิต
-แนวทางการปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

២៤០ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ขาดความเคารพ ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้งถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคล สิ่งของและเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าได้ตระหนักถึงคุณงามความดีของใครหรือสิ่งใดแล้ว คนเราก็จะเกิด ความคิดยอมรับนับถือ ไม่ดูเบา และปฏิบัติตามหรือนำคุณความดีเหล่า นั้นมาปฏิบัติ นี่คือความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่า “เคารพ” ซึ่งครอบ คลุมตลอดทั้งความเคารพ การทำความเคารพ ความเป็นผู้มีความเคารพ ตามสมควรในบุคคลต่างๆ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ความเคารพนี้จะเป็น เหตุให้ผู้ปฏิบัติไปสู่สุคติ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “บุคคลกระทำความเคารพผู้ที่ควรเคารพ สักการะผู้ที่ควรสักการะ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควรบูชา เพราะกรรมนั้น ที่ยึดถือไว้บริบูรณ์ อย่างยิ่ง เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากเขามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นผู้มีตระกูลสูงในประเทศที่กลับมาเกิด” - อนึ่ง พระธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับ เรื่องความเคารพไว้ในพระสูตรต่างๆ นั้น ปรากฏว่ามีธรรมอยู่ ๗ ประการ ที่บุคคลพึงให้ความเคารพ คือ ๑) พระพุทธเจ้า ๒) พระธรรม พระสงฆ์ ๔) การศึกษา ๕) การเจริญสมาธิภาวนา ๖) ความไม่ ประมาท ๗) การปฏิสันถาร ๓) ได้กล่าวแล้วว่า ถ้าทิศเบื้องบนขาดอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้สมบูรณ์ ผู้คนในอีก ๔ ทิศ ก็จะตกเป็นทาสของมิจฉาทิฏฐิ มี สภาพเหมือนอยู่ในความมืดแห่งอำนาจกิเลส เพราะไม่มีผู้มาจุดประทีป ส่องทางสว่าง ให้แลเห็นทางดำเนินชีวิต อันเป็นมาตรฐานของอริยชน ความคิดมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่งในใจของผู้คนเหล่านี้ก็คือ ขาดความเคารพ ในธรรม ๗ ประการ ดังกล่าวแล้ว เป็นต้นว่า ๒ ข. ขุ, อรรถกถามงคลสูตร ขุ. ขุ. มก. เล่ม ๓๙ หน้า ๔๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More