บทที่ ๒: ปิดป้องทิศ ๖ และ โลกทั้งสอง คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 61
หน้าที่ 61 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ กล่าวถึงการมีปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างตัวเราและคนรอบข้างเรียกว่า ปิดป้องทิศ 5 ซึ่งต้องมีอริยวินัย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงโลกในพระพุทธศาสนาที่แบ่งออกเป็นโลกนี้และโลกหน้า โดยโลกนี้คือที่อาศัยในปัจจุบัน และโลกหน้าคือแหล่งที่สัตวโลกจะไปถือกำเนิดใหม่หลังความตาย ผู้คนมีสิ่งแวดล้อมอยู่ ๒ ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคลและสถานที่

หัวข้อประเด็น

-ปิดป้องทิศ 5
-อริยวินัย
-โลกในพระพุทธศาสนา
-โลกนี้และโลกหน้า
-ความรับผิดชอบต่อทิศ 5

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ ๕. ปิดป้องทิศ ๖ ปิดป้องทิศ 5 หมายถึง ปฏิสัมพันธ์อันดีงามราบรื่น ไร้ปัญหา ระหว่างตัวเรากับบุคคลที่แวดล้อมเรา เราจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ 5 ก็เพราะมีอริยวินัย หรือปฏิบัติอริยวินัยโดยไม่บกพร่อง การมีอริยวินัยปิดป้องทิศ 5 อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “มี ความรับผิดชอบต่อทิศ 5” นั่นเอง ๖ โลก - โลกทั้งสอง ตามหลักพระพุทธศาสนา คำว่า โลก มีความหมายกว้างขวาง แต่คำว่าโลกในพระสูตรนี้ น่าจะหมายถึงแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสัตวโลกทั้งมวล คำว่า โลกทั้งสอง หมายถึง โลกนี้และโลกหน้า โลกนี้ หมายถึง โลกที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันชาติ โลกหน้า หมายถึง สัมปรายภพ คือ แหล่งที่สัตวโลกจะ ไปถือกำเนิดใหม่ภายหลังความตาย โลก ที่หมายถึงแผ่นดิน เป็นที่อาศัยของสัตวโลก ถือว่า เป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของคนเรา ดังนั้นคนเราทุกคนจึงมีสิ่ง แวดล้อมอยู่ ๒ ประเภท คือ ๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล แต่ละคนจะมีสิ่งแวดล้อม ประเภทนี้อยู่อย่างมาก ไม่เกิน 5 กลุ่ม เรียกว่า ทิศ 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More