บทที่ ๘: ความสำคัญของโครงการบ้านกัลยาณมิตร คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 299
หน้าที่ 299 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือสนับสนุนโครงการบ้านกัลยาณมิตร เพื่อให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ โดยสถาบันต่างๆ จะต้องมีบทบาทสำคัญ เช่น โรงเรียนและวัด นอกจากนี้ยังเน้นถึงหลัก ๔ ประการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในการสร้างความสุขและความสำเร็จ ได้แก่ การขยันทำงาน, การเก็บรักษาทรัพย์, การสร้างเครือข่ายคนดี และการใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อให้มีทรัพย์ที่เพียงพอในการดำเนินชีวิตและสร้างบุญกุศล โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

หัวข้อประเด็น

- โครงการบ้านกัลยาณมิตร
- บทบาทของสถาบันการศึกษา
- หลัก ๔ ประการในการสร้างความสำเร็จ
- ความร่วมมือจากทุกฝ่าย
- การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ เนื่องจากโครงการบ้านกัลยาณมิตร อาจต้องประสบกับปัญหา อุปสรรคมากมายดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นที่หลายฝ่ายในบ้านเมือง จะต้อง ร่วมมือร่วมใจกัน ให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน ให้โครงการบ้าน กัลยาณมิตรมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินกิจกรรมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จ สถาบันที่ควรจะมีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการร่วมมือส่งเสริม โครงการบ้านกัลยาณมิตรก็คือ โรงเรียน สถาบันการศึกษา และสถาบัน สงฆ์ นั่นคือจะต้องส่งเสริมให้มีโรงเรียนกัลยาณมิตร และวัดกัลยาณมิตร ขึ้นทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ใคร่ขอให้บรรดาพ่อบ้านแม่บ้านผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ที่คิดว่าท่านต้องประกอบอาชีพ หรือมีหน้าที่ต้องทำมาหากินเป็นภาระหนัก อยู่แล้ว จึงไม่ควรเปิดบ้านกัลยาณมิตรเป็นการเพิ่มภาระขึ้นอีก ความคิด เช่นนี้ถือว่าเป็นความคิดที่ผิดอย่างมหาศาล เพราะอะไร? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ใน ทีฆชาณุสูตร ว่า การที่ คนเราจะประสบความสุขความสำเร็จเบื้องต้นในชีวิตได้ จะต้องปฏิบัติตาม หลัก ๔ ประการคือ ๑) หาเป็น (อุฏฐานสัมปทา) คือต้องขยันทำมาหากิน และมีอาชีพ สุจริต ทั้งต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ๒) เก็บเป็น (อารักขสัมปทา) ต้องระวังรักษาทรัพย์ที่หามาโดยชอบ ธรรม ไม่ให้รั่วไหล ไม่ให้ มีอันตรายในด้านต่างๆ ๓)สร้างเครือข่ายคนดีเป็น (กัลยาณมิตตตา) ต้องพยายามชักชวน คนดีมาร่วมสร้างความดี สร้างบุญกุศล ๔) ใช้เป็น (สมชีวิตา) คือรายจ่ายต้องน้อยกว่ารายรับ เพื่อให้มี เงินเหลือเก็บไว้ใช้ในยามมีอันตราย และเพื่อไว้สร้างบุญกุศล ២៨៥
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More