ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๒
เกินกว่าที่บุคคลนั้นๆ ควรจะได้รับ ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะบุคคลนั้นๆ เป็น
ญาติของตน เป็นเพื่อนของตน เป็นคนโปรดของตน เป็นคนเคยให้สิ่ง
ของแก่ตน ฯลฯ ฉันทาคติเป็นที่มาของการคอรัปชั่นในสังคมทุกระดับ
๒. โทสาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากอำนาจความโกรธ
ความพยาบาทผูกเวรกัน ทำให้บุคคลทำสิ่งไม่ควรทำ เช่นทำให้ผู้ไม่ควรเป็น
เจ้าของได้ผลประโยชน์ ทำให้ผู้ที่ควรเป็นเจ้าของต้องเสียผลประโยชน์หรือ
ได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะอำนาจความโกรธ
ความพยาบาทที่มีอยู่ในใจบุคคล จึงไม่ตั้งอยู่ในความเที่ยงธรรม โทสาคติ
เป็นที่มาแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม
๓. โมหาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากความโง่เขลาเบา
ปัญญา ทําให้บุคคลทําสิ่งไม่ควรทำ เช่น ทำให้ผู้ไม่ควรได้ประโยชน์กลับได้
รับ ส่วนผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือ ได้รับน้อยกว่าที่ควร ที่ทำเช่นนี้ก็ ๖๓
เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาที่มีอยู่ในใจของบุคคลนั่นเอง โมหาคติทำให้
สังคมขาดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เหมือนไม้หลักปักเลน
๔. ภยาคติ คือ ความลำเอียง อันเกิดจากความกลัวภัยมาถึง
ตัว ทำให้บุคคลทำสิ่งไม่ควรทำ เช่น ทำให้ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์กลับได้
รับ ส่วนผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือได้รับน้อยกว่าที่ควร ที่ทำเช่นนี้ก็
เพราะบุคคลนั้นกลัวภัยอันตรายจะมาถึงตนนั่นเอง ภยาคติก่อให้เกิดภัยมืด
ระบาดคุกคามในสังคม
พระอริยสาวกทั้งหลาย แม้จะต้องสิ้นชีวิตก็ไม่ยอม เอียง!
สาเหตุที่ทำให้เกิดอคติ
ที่ใดก็ตามที่มีคนอยู่ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ถ้าไม่ระมัดระวัง
ความคิด ใจอาจจะคิดลำเอียงขึ้นได้ แต่ถ้าเรามีความสำนึกรับผิดชอบต่อ