การสะสมความโลภและผลกระทบทางสังคม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 25
หน้าที่ 25 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงวิธีการที่ความโลภและการสะสมทรัพย์สมบัติทำให้สังคมเกิดการแข่งขันที่ไม่สิ้นสุด เมื่อผู้คนไม่สามารถรับรู้ถึงความตายที่รออยู่ของตน การสะสมโภคทรัพย์เกินความจำเป็นเกิดขึ้นและสร้างความไม่เท่าเทียมในสังคม บทนี้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของความโลภที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด ความเศร้าโศก และความอาฆาตพยาบาทในสังคมไทย เพื่อเตือนสติให้เราเข้าใจถึงข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่

หัวข้อประเด็น

-ความโลภ
-ปัญหาสังคม
-การสะสมทรัพย์สิน
-ความอาฆาตพยาบาท
-ทรัพยากรธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๑ แต่เพราะเหตุที่ปุถุชนไม่ได้เฉลียวใจว่า ตนกำลังเดินไปสู่ความ ตายทุกขณะ มิหนำซ้ำยังหวังจะมีอายุยืนยาวค้ำฟ้า ไม่อยากตายอีกด้วย คนกิเลสหนาทั้งหลายจึงพากันมุ่งสะสมโภคทรัพย์สมบัติ ให้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้ เพื่อเก็บไว้บำรุงบำเรอความสุขทั้งของตน และเผื่อไว้สำหรับ ลูกหลานเหลนต่อไปอย่างไม่รู้จบอีกด้วย จึงทำให้เกิดการสะสมโภคทรัพย์ เกินความจำเป็น นี่คือกิเลสตระกูลโลภะคือความโลภอยากได้ไม่รู้จบ ได้ ก๋าเริบขึ้นในจิตใจแล้ว เมื่อต่างคนต่างมุ่งสะสมทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด การ แก่งแย่งแข่งขันเกินเหตุก็เกิดขึ้น จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมมือใครยาวสาว ได้สาวเอา พร้อมๆ กับพฤติกรรมทุจริตคิดมิชอบด้วยประการทั้งปวง ฝ่ายที่พลาดหวังหรือพ่ายแพ้ในการแข่งขันช่วงชิงผลประโยชน์ ย่อมเศร้าโศกเสียใจ เป็นทุกข์ ขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธแค้น เกลียดชัง ๑๑ ฝ่ายที่ชนะ นี่คือชนวนแห่งความอาฆาตพยาบาท จองเวร แก้แค้นกันใน สังคม ความรู้สึกเช่นนี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับมูลค่า ของผลประโยชน์ ถ้าผลประโยชน์มีมูลค่าสูงมาก แรงแค้นก็รุนแรงมาก ถึงขั้นปลดปลงชีวิตกันได้ และถ้าเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ การ รบพุ่งฆ่าฟันในลักษณะเป็นสงครามก็เกิดขึ้นได้ นี่คือกิเลสตระกูลโทสะ คือ ความคิดทําลายล้างผลาญได้กําเริบขึ้นเต็มรูปแบบแล้ว อนึ่ง เพราะเหตุที่ทรัพยากรตามธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อ ถูกนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา จึงลดน้อยร่อยหลอลงเรื่อยๆ สิ่งนี้ย่อมเป็น เหตุให้ผู้คนวิตกกังวลถึงความขาดแคลนที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต จึง พยายามสะสมกันอย่างเกินจำเป็น พฤติกรรมเช่นนี้นอกจากจะเป็นสาเหตุ สําคัญที่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้คนในสังคมแล้ว ยังก่อให้เกิดอคติและ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More