ผลกระทบของพฤติกรรมที่ทำลายพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 247
หน้าที่ 247 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงผลกระทบของพฤติกรรมที่ทำลายพระพุทธศาสนาอย่างมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งทำให้สังคมมีปัญหา เช่น การทำร้ายผู้อื่น ฆ่าสัตว์ และการคอรัปชั่น สร้างผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยพระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่อาจนำไปสู่การขาดความรับผิดชอบในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบของพฤติกรรมทำลายพระพุทธศาสนา
-มิจฉาทิฏฐิและผลกระทบต่อสังคม
-ความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
-พฤติกรรมอคติในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาทางอ้อม เพราะแสดงให้โลก เห็นว่าพระพุทธศาสนายังไม่สามารถอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกให้เป็นคนดีได้ ๓) มีพฤติกรรมทำลายพระพุทธศาสนา ได้กล่าวแล้วว่า มิจฉา ทิฏฐิบุคคลย่อมมีพฤติกรรมเป็นคนทุศีล เช่น เบียดเบียนหรือทำร้าย ผู้ อื่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและทำฆาตกรรม คอรัปชั่น ประพฤติผิดทางเพศ เสพสุรายาเมา ตลอดจนสิ่งเสพติดต่างๆ เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการก่อบาปก่อเวรให้แก่ผู้ประพฤติโดยตรงแล้ว ยังเป็น การเบียดเบียน บีบคั้นคนดีในสังคมที่พวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ให้ตั้ง อยู่ในความดีได้ตลอด ดังนั้น คนดีก็อาจจำเป็นต้องปกป้องตนเองด้วย พฤติกรรม ชั่วร้ายรุนแรงพอๆ กัน หรือมากกว่า ในที่สุดก็จะไม่มีผู้ ปฏิบัติตามหลักธรรม และแล้วพระพุทธศาสนาก็จะสูญสลายไปโดยปริยาย ๒. คฤหัสถ์ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมหรือศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่นที่ร่วมสังคม ถ้าพระภิกษุขา อริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของท่านให้สมบูรณ์ ผลเสียที่จะเกิดประการที่ ๒ คือ คฤหัสถ์จะไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หรือต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่ร่วมสังคม ด้วยการเกี่ยวข้อง พัวพันกับอบายมุขเป็นอาจิณ ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัยและแสดง พฤติกรรมออกมาให้เห็นได้อย่างน้อย ๓ ประการ คือ ๑) เป็นคนอคติ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคิดถึงตนเองหรือ ประโยชน์ของตน และบริวารของพวกพ้องของตนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงไม่ คำนึงถึงการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม เมื่อจะพูดหรือทำสิ่งใด ก็จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความลำเอียง คนที่มีใจลำเอียงย่อมพยายามคิด ๒๓๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More