คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 66
หน้าที่ 66 / 397

สรุปเนื้อหา

ในคัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ มีการชี้ชัดถึงกรรมกิเลส ๔ และระบุว่ากรรมสามารถแบ่งได้ตามการกระทำทางกาย วาจา และใจ โดยการกระทำเหล่านี้เกิดจากความคิดและกิเลสที่เป็นความชั่วร้ายในใจมนุษย์ ความคิดที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น โลภ โกรธ หลง มีอำนาจในการหล่อหลอมกรรมให้ออกมาในรูปแบบของการกระทำที่ทำร้ายผู้อื่น ส่งผลให้เกิดโทษภัยในสังคม ดังนั้นการทำความเข้าใจกรรมกิเลสจึงเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงจิตใจให้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-กรรมกิเลส
-ความหมายของกรรม
-อำนาจของกิเลสในใจ
-กรรมชั่วทางใจ
-กรรมชั่วทางวาจา
-กรรมชั่วทางกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ จึงทรงเรียกว่า “กรรมกิเลส ๔” ไม่ทรงเรียกว่า “ศีล” ความหมายของกรรมกิเลส กรรมกิเลส ประกอบด้วยคำว่า กรรม กับ กิเลส กรรม หมายถึง การกระทำต่างๆ ทั้งดีและชั่ว โดยมีเจตนา รวมทั้งการกระทำที่เป็นกลางๆ แม้คนเราจะทำกรรมได้มากมายเพียงใดก็ตาม โดยสรุปแล้วทำได้ ไม่เกิน ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจา และใจ กิเลส คือ ความชั่วร้ายที่อยู่ในใจคน เปรียบเหมือนโรคร้ายที่ แฝงอยู่ในใจ มีอำนาจบีบคั้นจิตใจคนให้อ่อนแอ อ่อนล้า เสื่อม ๕๒ ประสิทธิภาพและเสื่อมพลังในการคิด จึงมีแต่ความคิดร้ายๆ ที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น ความคิดโลภ โกรธ หลง ความคิดร้ายๆ เหล่านี้ ถ้าเปรียบกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็เป็นโปรแกรมเลวร้ายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโทษภัย แก่ผู้บริโภคและสังคม จึงเป็นเหตุ กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ด้วยอำนาจกิเลสในใจตน ให้คนก่อกรรมชั่วหรือก่อบาปกรรม บาปกรรมประการแรกเป็นกรรมชั่ว ทางใจ คือ คิดร้ายๆ ได้แก่ คิดโลภ โกรธ หลง กรรมชั่วทางใจเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดกรรมชั่วทางวาจาคือพูดร้ายๆ เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดค่าหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นินทา กรรมชั่วทางใจ รวมทั้งทางวาจา ก่อให้ เกิดกรรมชั่วทางกายต่อไปอีก เช่น ต่อย ตี เข่นฆ่า เบียดเบียน ล้าง ผลาญผู้อื่น ในบางกรณี กิเลสอาจเปรียบได้กับเมฆหมอกปกคลุมใจคน ให้มืดมิด คิดอะไรไม่ออก หรือถ้าคิดออก ความคิดนั้นก็ไม่สร้างสรรค์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More