คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 64
หน้าที่ 64 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยชี้ให้เห็นว่า คนดีที่โลกต้องการต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของตนเอง ความรับผิดชอบคือการตระหนักถึงหน้าที่และการละเว้นกรรมที่ไม่ดี ทั้งยังต้องมีความกล้าที่จะรับภาระในการสร้างผลดีทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ขณะเดียวกัน ศักดิ์ศรีหมายถึงอำนาจในการทำความดีและความเจริญรุ่งเรือง พร้อมเป็นฐานที่มาของความสมบัติและความดีในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความรับผิดชอบ
-ศักดิ์ศรี
-ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
-ความตระหนักในหน้าที่
-สิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ ๓. มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ (ด้วย การละอบายมุข ๖) ธรรมชาติ ๔. มีความสำนึกรับผิดชอบต่อทิศ 5 และต่อสิ่งแวดล้อมตาม จากคำกล่าวสรุป คนดีที่โลกต้องการ คือ ผู้ที่มีความสำนึก รับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง อาจมีผู้สงสัยว่า ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ความรับผิดชอบ” และ “ศักดิ์ศรี” คืออะไร คำว่า “ความรับผิดชอบ” เป็นความคิดที่ดีงามถูกต้อง จัด อยู่ในเรื่องดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ซึ่งเป็นส่วนแห่งมรรคมีองค์ ๘ จากคำ อธิบายเรื่องด่าริชอบ ทำให้กล่าวสรุปได้ว่า ความรับผิดชอบ คือ ความตระหนักในสิ่งที่ต้องทำ และกรรม ที่จะต้องละเว้น รวม ทั้งมีความกล้าที่จะเข้าไปรับภาระนั้น ๆ เพื่อ ป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือแก้ไข ความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลดีหรือประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม กับ “ศรี” ส่วนคำว่า “ศักดิ์ศรี” ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ “ศักดิ์” ศักดิ์ แปลว่า อำนาจ ความสามารถที่แผ่ออกไป กำลัง ศรี แปลว่า ดี เจริญ ที่มาของความดีและความเจริญ ที่มา ของสมบัติ เป็นที่ตั้งของสมบัติ ดังนั้น ศักดิ์ศรี จึงหมายถึง อำนาจในการที่จะทำความดี อำนาจ แห่งความเจริญรุ่งเรือง หรือ อำานาจที่จะครองมนุษยสมบัติของตนเอง 5 มหาจัตตารีสกสูตร ม.อุ.มก. ๒๒/๒๖๒-๓/๓๔๔-๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More