คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 330
หน้าที่ 330 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดในการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิในสังคมเพื่อป้องกันปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน โดยเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างบ้าน โรงเรียน และวัด เพื่อสร้างกัลยาณมิตรในทุกระดับ. การประสานความร่วมมือเช่นนี้จะนำไปสู่สันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองในชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ หากรัฐบาลนำแนวคิดนี้มาเป็นนโยบาย จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ. เนื้อหามุ่งเน้นการพัฒนาสังคมตามหลักพระพุทธศาสนาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมในผู้คน. นี่คือแนวทางการสร้างสังคมดีที่โลกต้องการ.

หัวข้อประเด็น

- การพัฒนาสังคม
- ปัญหาสังคม
- กัลยาณมิตร
- สันติสุข
- หลักพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๑๖ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หมู่เหล่า ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ละความชั่ว ไม่ตั้งอยู่ในความดี ปล่อยจิตใจ ให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส ถ้าปล่อยให้สังคมตกอยู่ในสภาพนี้ต่อไป ปัญหา ต่างๆ ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จนยากที่จะแก้ไข อนึ่ง สำหรับการแก้ไข ไม่ว่าจะแก้โดยการใช้กฎหมาย หรือวิธี การอื่นใด ล้วนเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ซึ่งยากที่จะเกิดสัมฤทธิผล ทางที่ ถูกควรจะต้องป้องกันที่ต้นเหตุ ซึ่งจะมีประสิทธิผลสูงกว่าการตามไปแก้ ปัญหาที่ปลายเหตุมากมายหลายเท่านัก วิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง ก็คือการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิลงใน จิตใจของผู้คน ให้เกิดเป็นลักษณะนิสัยของกัลยาณมิตร ซึ่งบุคคลทุก ฝ่ายในสังคมจะต้องประสานความร่วมมือกันทำงานนี้ โดยมีพระสงฆ์ทั้ง สังฆมณฑลเป็นผู้นําทางด้านจิตใจ การประสานความร่วมมือกัน ระหว่างบ้านกัลยาณมิตร โรงเรียน กัลยาณมิตร และวัดกัลยาณมิตร ทำงานนี้อย่างแข็งขัน จริงใจ และเป็น น้ำหนึ่งใจเดียว ย่อมจะเกิดสัมฤทธิผลได้ไม่ยากนัก เพราะทั้ง พราะทั้ง ๓ สถาบัน ต่างมีเป้าหมายหลักตรงกันอยู่แล้ว และสัมฤทธิผลของงานนี้ ย่อมหมาย ถึงสันติสุขและความเจริญรุ่งเรือง ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนอย่างยิ่งตลอดไป อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองดังกล่าวนี้ จําเป็นต้องเกิดขึ้นทุกๆ ชุมชนทั่วทั้งประเทศ ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสังคมจึงจะหมดไป เพราะฉะนั้น ถ้ารัฐบาลจะรับเอาแนวคิด เรื่องการประสานความ ร่วมมือกันทำงานระหว่าง ๓ สถาบันกัลยาณมิตร มาเป็นนโยบายในการ แก้ปัญหาสังคม รัฐบาลย่อมมีศักยภาพสูงกว่าภาคเอกชนหรือองค์กร ใน การดำเนินการให้สัมฤทธิผลได้ทุกชุมชนทั่วประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งหมดนี้ คือแนวคิดในการสร้างสังคมดีที่โลกต้องการ ตามหลัก พระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More