ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๗)
ผู้อื่นที่ร่วมสังคม เพราะอคติที่ครอบงำใจของเขา ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะนิสัย
และแสดงพฤติกรรมออกมาให้เห็นอย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑) เป็นคนอคติ ครอบครัวที่สามีหรือภรรยา หรือทั้ง ๒ ฝ่าย
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ก็เพราะมีความคิดมิจฉาทิฏฐิอยู่ในจิตใจ
เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมมาจากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวา ให้รู้จัก ผิด
ชอบ ชั่ว-ดี บุญ-บาป ควร-ไม่ควร
ด
ครอบครัวของคนมิจฉาทิฏฐิจึงขาดความสงบสุข แต่ละฝ่าย
ต่างก็รู้สึกขาดความปลอดภัย มองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ ไม่เชื่อว่าความ
ยุติธรรมจะมีอยู่ในโลกนี้ เพราะแม้แต่ตนเองยังไม่ได้รับความเป็นธรรม
จากสามีหรือภรรยาของตน ดังนั้นเขาหรือเธอจึงเป็นคนอคติ ไปโดยปริยาย
แม้แต่ลูกในไส้ของตน เขาหรือเธอก็ยังรักไม่เท่ากัน
๒) เข้าข้างฝ่ายที่ตนรักใคร่พอใจ ในฐานะที่เป็นพ่อหรือแม่ของ
ลูกๆ มากกว่า ๑ คน สามีหรือภรรยาที่เป็นคนอคติ จะไม่ตระหนักถึง
ความยุติธรรมที่ตนพึงมีต่อลูกๆ คือจะรักลูกไม่เท่ากัน โดยแสดง
พฤติกรรมออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนครั้งแล้วครั้งเล่า เช่น คอยกล่าว
ปกป้องหรือแก้ตัวให้แก่ลูกหัวแก้วหัวแหวนของตนเมื่อทำผิด คอยกล่าว
ให้ท้ายลูกหัวแก้วหัวแหวนของตนให้กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามทำนอง
คลองธรรม ขณะเดียวกันก็คอยกล่าวตำหนิติเตียนอย่างรุนแรง ต่อลูกที่
ไม่ใช่คนโปรดของตน แม้ทำผิดเพียงเล็กน้อย หรือทำไม่ถูกใจตน หรือ
เมื่อลูกคนนี้ทำความดี นอกจากจะไม่ยกย่องสรรเสริญแล้วยังจะประชด
ประชันเหน็บแนมให้ท้อใจ ยิ่งกว่านั้นในบางครั้งยังคอยจับผิดลูกคนนี้อีกด้วย
พ่อแม่ที่มีความลำเอียง ต่างฝ่ายต่างก็จะมีลูกหัวแก้วหัว
แหวนของตน ต่างฝ่ายต่างก็จะคอยถือหางลูกที่ตนรักมาก เข้าทำนองคน
นั้นเป็นลูกพ่อ คนนี้เป็นลูกแม่ สถานการณ์เช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความ
แตกแยกขึ้นในครอบครัวอย่างไม่ต้องสงสัย นั่นคือจะมีการทะเลาะเบาะแว้ง