ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๕
จริง ยังมีลักษณะนิสัยของมิตรแท้ไม่ครบ นั่นคือยังมีลักษณะนิสัยของมิตร
เทียมปะปนอยู่ จำเป็นต้องกำจัดออกไป แล้วพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีขึ้น
มาแทนให้ได้โดยเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่แพร่ขยายลักษณะนิสัย
เลวๆ แบบมิตรเทียมไปสู่ผู้อื่น สิ่งที่ควรแพร่ขยายออกไปก็ต้องเฉพาะนิสัยที่ดีๆ
เท่านั้น
๔. เราต้องพยายามใช้ “ตะแกรงกายสิทธิ์” ร่อนหาลักษณะ
นิสัยพฤติกรรมดีๆ ของคนใกล้ตัวคือทิศ 5 ให้มาก เพื่อถ่ายทอดเอาความ
มาใส่ตัวเราด้วย และไม่ว่าบุคคลใดก็ตาม ถ้าเราพบว่าเขามีพฤติกรรม
ของมิตรแท้ ก็ควรพยายามเข้าไปคบค้าสมาคมกับเขาอย่างใกล้ชิดด้วยความ
เพื่อจะได้มีโอกาสถ่ายทอดคุณความดีของเขามาสู่ตัวเรา ดังที่
เคารพ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ ประเภท เหล่านี้ คือ
มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่
ว่าเป็นมิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไปคบหาโดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น”
จากพุทธภาษิตนี้ ย่อมเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
ยกย่องให้เกียรติ มิตรแท้ หรือเพื่อนที่สูงส่งมาก เทียบด้วยมารดาของเรา
เพราะมิตรดีเช่นนี้หาได้ยากยิ่งจริงๆ สามารถให้กำเนิดความดีแก่เราได้ หาก
ใครพบแล้วไม่รักษาไว้ให้ดีย่อมเป็นอัปมงคล
มีข้อสังเกตว่า ในพุทธภาษิตนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้
คำว่า “บัณฑิต” จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า บัณฑิตคือใคร ?