การจัดกิจกรรมในห้องเรียนและชมรมพุทธศาสตร์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 311
หน้าที่ 311 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๘ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในห้องเรียน โดยใช้ระบบเสียงเพื่อความสะดวก ควบคู่ไปกับการชักชวนครู นักเรียน และผู้ปกครองเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดกัลยาณมิตร ทั้งการถวายเทียนพรรษา ทอดผ้าป่า และช่วยพัฒนาอาคารสถานที่ของวัดในวันหยุด ตามด้วยการสร้างชมรมธรรมะในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการศึกษาธรรมะและสร้างสันติสุขในสังคม การสนับสนุนสถานที่และงบประมาณเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดกิจกรรมอยู่เสมอ เพื่อให้การเชิญชวนการสวดมนตร์และทำสมาธิเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีความรู้ในธรรมะจะช่วยเสริมสร้างวิสัยทัศน์กว้างไกลให้กับชมรมและสมาชิก

หัวข้อประเด็น

-การจัดกิจกรรมในห้องเรียน
-การบำเพ็ญกุศล
-การส่งเสริมชมรมพุทธศาสตร์
-การเรียนรู้ธรรมะ
-การสร้างสันติสุขในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ ปฏิบัติในห้องเรียนแต่ละห้อง โดยใช้ระบบเสียงตามสายเข้ามาอำนวย ความสะดวก และมีครูอาจารย์กำกับดูแลอย่างทั่วถึงทุกห้อง ๒.๑.๒) ชักชวนครูอาจารย์และนักเรียน ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครองของนักเรียนร่วมบำเพ็ญกุศล ที่วัดกัลยาณมิตรใกล้เคียงกับ โรงเรียน เช่น การถวายเทียนพรรษา การทอดผ้าป่าและการทอดกฐินสามัคคี เป็นต้น ๒.๑.๓) นำเด็กนักเรียนไปช่วยพัฒนาบริเวณวัดกัลยาณมิตร ที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงเรียนในวันหยุด ตามความเหมาะสม ๒.๒) กิจกรรมของชมรมพุทธศาสนา ๒.๒.๑) กิจกรรมประจำ ตามปกติแต่ละโรงเรียนย่อม มีการจัดตั้งชมรม เพื่อทํากิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของ ผู้เรียนอยู่แล้ว ในบรรดาชมรมต่างๆ ทางโรงเรียนต้องสนับสนุนให้มี ชมรมธรรมะหรือชมรมพุทธศาสตร์ขึ้น ขณะเดียวกันอาจารย์ที่ปรึกษาของ ชมรม ก็จําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจธรรมะดีพอสมควร อีกทั้งต้องมี วิสัยทัศน์กว้างไกล ในด้านการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล สังคม และบ้านเมืองด้วย การสนับสนุนชมรมในด้านความสะดวกสบายเรื่องสถานที่ และงบประมาณเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้ชมรมสามารถจัดกิจกรรมได้ ทุกๆ วัน ตามเวลาที่เหมาะสม กิจกรรมที่พึงปฏิบัติได้ทุกวันก็คือ การ เชิญชวนผู้เรียนทั้งที่เป็นสมาชิก และไม่ได้เป็นสมาชิก ตลอดจนครูบา อาจารย์ในโรงเรียน เข้ามาสวดมนตร์ และเจริญสมาธิภาวนาร่วมกันใน ห้องของชมรม นอกเวลาเรียนตามปกติ ๒.๒.๒) กิจกรรมพิเศษ กิจกรรมพิเศษของชมรมพุทธ ศาสตร์ คือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียน ให้ปฏิบัติเป็นครั้ง ๒๔๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More