การใช้ทรัพย์ตามหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 143
หน้าที่ 143 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการสร้างอริยทรัพย์ผ่านการใช้ทรัพย์อย่างมีวินัยตามหลักพุทธศาสนา เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต การแบ่งทรัพย์ออกเป็นสี่ส่วนและการใช้ทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้บุคคลมีความสามารถ และเป็นที่ยกย่องในสังคม โดยอ้างอิงจากคำสอนในพระสูตรต่างๆ เช่น สิงคาลกสูตร ซึ่งชี้ให้เห็นถึงหลักการของเศรษฐศาสตร์พุทธที่ส่งเสริมให้เก็บออมและใช้ทรัพย์สินอย่างรอบคอบ

หัวข้อประเด็น

-การสร้างอริยทรัพย์
-อริยวินัยในการใช้ทรัพย์
-เศรษฐศาสตร์พุทธ
-หลักการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
-พระสูตรเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๕ ทานกุศลนี้ ถือได้ว่าเป็นการสร้างอริยทรัพย์ เพื่อเตรียมไว้เป็นทุนสำหรับ ภพชาติหน้าและต่อๆ ไป ดังนั้น การเก็บออมในส่วนที่สี่นี้ ย่อมแสดงถึงความเป็นผู้ไม่ ประมาทอย่างหนึ่งของบุคคล บุคคลใดก็ตามที่มีอริยวินัยในการใช้ทรัพย์ ตามพุทธดำรัสดัง กล่าว ย่อมได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า “เป็นคนดี เป็นผู้มีความ สามารถ” ดังพระคาถาต่อไปนี้ "คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้ แล้ว จึงแบ่งโภคสมบัติ ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ จึง ใช้สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง ประกอบการงาน ด้วยสองส่วน จึงเก็บ ส่วนที่สีไว้ด้วยหมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้” นอกจากเรื่องอริยวินัยในการใช้ทรัพย์ ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็น ๑๒๕ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ซึ่งตรัสแสดงไว้ในสิงคาลกสูตรแล้ว พระสัมมา สัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไว้ในพระสูตรต่างๆ อีก หลายพระสูตร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More