บทบาทของครูในการพัฒนาคุณภาพศิษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 157
หน้าที่ 157 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๖ นำเสนอหน้าที่สำคัญของครูในการป้องกันและพัฒนาศิษย์ ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติ เช่น สัมมาทิฏฐิ ความรู้ในวิชาชีพ และความอดทน เพื่อถ่ายทอดความรู้และค่านิยมที่ดีให้กับศิษย์ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับศิษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะครูจะเป็นปากเสียงแทนศิษย์เมื่อมีการติฉินนินทา นอกจากนี้บทยังกล่าวถึงอิทธิพลของทิศเบื้องขวาที่มีต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตของพวกเขา

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของครู
-คุณสมบัติของครู
-ผลกระทบต่อการพัฒนาศิษย์
-การประกันคุณภาพการศึกษา
-สัมพันธภาพระหว่างครูและศิษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ ขณะเดียวกันก็เป็นการประกันคุณภาพให้ศิษย์ด้วย สำหรับฝ่ายอาจารย์ เองย่อมเป็นการแสดงความเป็นมิตรแท้ของตนให้ปรากฏแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง เป็นการส่งเสริมความน่านิยมยกย่องให้แก่ตัวครูเองพร้อมกันไปด้วย ๕. ทำการป้องกันในทิศทั้งหลาย หมายความว่า ความรู้ทั้งปวง ไม่ว่าความรู้ทางธรรมหรือวิชาชีพที่ครูถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ด้วยความจริงใจ ด้วยเทคนิควิธีที่ชาญฉลาด ศิษย์ย่อมสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนให้ เป็นคนดี สามารถผูกมิตรไว้ได้รอบทิศ เมื่อศิษย์สามารถปิดป้องทิศทั้งหลาย ได้ ย่อมหมายถึงว่าครูบาอาจารย์ได้ทำการป้องกันในทิศทั้งหลายให้ศิษย์ แล้วระดับหนึ่ง นอกจากนี้หากมีผู้ใดกล่าวติเตียนศิษย์ อาจเป็นเพราะ เข้าใจผิดหรือเนื่องด้วยเหตุใดก็ตาม ซึ่งศิษย์ไม่มีโอกาสกล่าวชี้แจง ครู อาจารย์ย่อมกล่าวแก้แทนศิษย์ของตนเสมอ จากหน้าที่ ๕ ประการนี้ ครูอาจารย์ทั้งหลายจะปฏิบัติได้ครบ ๑๔๓ ถ้วน มีประสิทธิผล ครูอาจารย์เองต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยดังต่อไปนี้คือ ๑. มีสัมมาทิฏฐิ ทั้งต้องตระหนักถึงการปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้ แก่ศิษย์ด้วย เชี่ยวชาญ ๒. มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานคนตีและเป็นมิตรแท้ มีความรู้ในวิชาชีพที่ตนสอนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ และ ๓. ๔. มีความอดทนในการอบรมสั่งสอนศิษย์เป็นเลิศ ทิศเบื้องขวา ถือว่ามีอิทธิพลต่อเด็กรองลงมาจากพ่อแม่ เด็ก ที่มีทิศเบื้องหน้าดี และยังได้ทิศเบื้องขวาดีอีก ต้องถือว่ามีโชคมหาศาล เด็กที่มีทิศเบื้องหน้าไม่ดี แต่มีทิศเบื้องขวาดี ก็ยังมีโอกาสดีได้ เด็กที่มีทิศเบื้องหน้าดี แต่มีทิศเบื้องขวาไม่ดีในขณะที่ยังเป็น เด็กเล็กก็อาจเกิดอาการทางจิตประสาท หรือทำให้บุคลิกเสียไปได้ และ ถ้ามีทิศเบื้องขวาไม่ดีในขณะที่เติบโตแล้ว ก็อาจหมดอนาคตได้ หรือถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More