บทที่ ๙: เครื่องมือกายสิทธิ์สำหรับคัดเลือกมิตรแท้ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 347
หน้าที่ 347 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๙ เน้นความสำคัญของการคัดเลือกมิตรแท้ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนเราในชีวิต โดยมีการพิจารณาว่าแต่ละคนมีลักษณะนิสัยทั้งดีและไม่ดี ซึ่งจำเป็นต้องตระหนักถึงกฎแห่งกรรมและการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการมีอริยวินัยในการปฏิบัติตนเพื่อความเจริญและหลุดพ้นจากความเลวร้าย การมีความรักใคร่และปรองดองซึ่งกันและกันจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างสังคมที่ดี

หัวข้อประเด็น

-การเลือกมิตรแท้
-ลักษณะนิสัยมิตรแท้และมิตรเทียม
-อริยวินัยและการปฏิบัติ
-การสร้างบารมี
-การพัฒนาคุณความดีในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ เป็นเครื่องมือกายสิทธิ์สำหรับตัวเรา ในการพิจารณาคัดเลือกมิตรแท้ไว้ คบหาสมาคม เป็นที่ปรึกษาพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพราะเขาจะเป็นผู้ สนับสนุนส่งเสริมเราให้มีความเจริญก้าวหน้า และประสบสันติสุขในชีวิต มิตรแท้นำสันติสุขมาสู่โลก ผู้คนโดยทั่วไปในสังคม แต่ละคนมักจะมีลักษณะนิสัยหรือ พฤติกรรมของมิตรเทียมกับมิตรแท้ผสมคละเคล้ากันอยู่ กล่าวได้ว่า ไม่มีใครเลวครบขั้น หรือดีครบเครื่อง ๑๖ ประการ แม้ตัวเราเองที่ปรารถนาจะเป็นคนดี มีอริยวินัย ปฏิบัติถูก แต่ บางครั้งก็อาจลุแก่โทสะ หมดความอดทน หรือหลงผิด จนทำให้แสดง พฤติกรรมของมิตรเทียมออกมาโดยตั้งใจหรืออาจจะไม่ตั้งใจในบางครั้ง ผู้มีปัญญา และมีสัมมาทิฏฐิ ย่อมมีความเข้าใจกฎแห่งกรรม เข้าใจการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอันหาเบื้องต้นเบื้องปลายมิได้ มี ความรู้ความเข้าใจว่าคนเราเกิดมาเพื่อสร้างบารมีหรือคุณความดี ชีวิตจึง จะพัฒนาขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น รู้ว่าถ้าขาดอริยวินัย ปล่อยตัวปล่อยใจไป ทำความเลว ปฏิบัติผิด จะมีใครเห็นหรือไม่ก็ตาม ในที่สุดชีวิตก็จะตกต่ำ มีปัญหาเดือดร้อนไม่ช้าก็เร็ว การปฏิบัติผิด จะมีแต่ผลเสียเท่านั้น ทั้งโดยส่วนตัวและส่วนรวม ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เพราะฉะนั้น กะฉะนั้น แต่ละคนจำเป็นต้องมีจิตใจเป็นมิตรไมตรีต่อกัน รักใคร่ปรองดองกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่มีความปรารถนาดีต่อกัน เป็นที่ พึ่งซึ่งกันและกัน ด้วยการถ่ายทอดลักษณะนิสัยที่ดีหรือลักษณะมิตรแท้ ให้แก่กันและกัน ขณะเดียวกันก็พยายามกำจัดลักษณะนิสัยและพฤติกรรม ของมิตรเทียมที่ตนเคยมีเคยแสดง ให้หมดไปจากนิสัยสันดานของตนเสีย ကကက
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More