โทษของการเที่ยวดูมหรสพ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 101
หน้าที่ 101 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้วิเคราะห์ถึงโทษของการเที่ยวดูมหรสพตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ โดยระบุถึงพฤติกรรมที่นำไปสู่อาการหมกมุ่นในความบันเทิงที่ส่งผลเสียต่อการทำงาน การใช้จ่ายและเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ชีวิตไม่สมดุลและเกิดปัญหามากมายตามมา การลดการหมกมุ่นในมหรสพจะช่วยให้สามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตอย่างมีความหมายมากขึ้น โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-โทษของมหรสพ
-การรักษาสมดุลในชีวิต
-ผลกระทบจากการหมกมุ่น
-คำสอนของพระพุทธองค์
-เศรษฐกิจและการทำงาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๓ ๖) จากสาเหตุดังกล่าวทั้ง ๕ ข้อ ก็ทำให้เกิดปัญหาเดือด ร้อนตามมาอีกนับไม่ถ้วน ๓. โทษของการเที่ยวดูมหรสพ พึงเข้าใจว่าในเรื่องนี้พระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามเด็ดขาด อาจจะ ไปบ้างเป็นบางครั้ง บางคราวเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ก็ไม่น่าเป็นเรื่อง เสียหาย สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงชี้โทษ คือ ความหมกมุ่นในสิ่งบันเทิงเริง รมย์ต่าง ๆ ดังที่ตรัสแสดงเป็นตัวอย่างไว้ 5 ประการ คือ ๑) รำที่ไหนไปที่นั่น ๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๓) ประโคมที่ไหนไปที่นั่น ๔) เสภาที่ไหนไปที่นั่น ๕) บรรเลงเพลงที่ไหนไปที่นั่น ๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น ใครก็ตามที่มีพฤติกรรมในทำนองตัวอย่างทั้ง 5 ข้อนี้ ย่อม แสดงว่าเป็นคนหมกมุ่นอยู่กับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ เอาแต่ความสนุกสนาน ไม่สนใจในการทํามาหาเลี้ยงชีวิต ทําให้เสียทั้งทรัพย์ที่ต้องใช้จ่าย เสียเวลา ที่ต้องไป เสียงานที่ควรจะได้ ซึ่งงานก็คือเงินที่ควรจะได้ เมื่อหมกมุ่นอยู่กับ การเที่ยวดูมหรสพอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วต่อไปก็จะมีรายการอื่น อีกหลายๆ รายการที่ต้องตามไปดู ในที่สุดจะไม่มีเวลาประกอบอาชีพ ปัญหาเศรษฐกิจก็จะตามมา พร้อมกับปัญหาอื่นๆ อีกมาก ๘๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น