ผลกระทบของพฤติกรรมลูกจ้างต่อสิ่งแวดล้อม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 243
หน้าที่ 243 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงการทำงานของลูกจ้างที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดปัญหามากมายให้กับทั้งชุมชน สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้คน การก่อมลพิษจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น การทิ้งขยะในน้ำ และการไม่ดูแลเครื่องยนต์ ต่างส่งผลให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ รวมไปถึงเสียงรบกวน จึงจำเป็นต้องมีการอบรมและให้ความรู้แก่ลูกจ้างเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมและความตระหนักรู้ในการทำงานอย่างมีความรับผิดชอบ

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบจากพฤติกรรมของลูกจ้าง
-การก่อมลพิษและชนิดของมัน
-ความรับผิดชอบและการฝึกอบรมลูกจ้าง
-ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗) ครั้นเมื่อถูกนายจ้างจี้จุดบกพร่อง และเข้มงวดกวดขันพวก เขาให้ทำงานดีขึ้น พวกเขาก็จะมองว่านายจ้างจู้จี้อย่างไร้สาระ เมื่อสบ โอกาสก็นินทาว่าร้ายนายจ้าง ส่วนพวกเขาก็ยังไม่ได้ปรับปรุงการทำงานให้ ดีขึ้น และถ้ามีคนใดคนหนึ่งถูกปลดออก ถูกไล่ออก ลูกจ้างมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้ก็จะก่อปัญหายุ่งยากต่อไปอีก นั่นคือเกิดปัญหาทั้งคนแวดล้อม และสิ่งแวดล้อม ๓) ก่อมลพิษ การกระทำของคนเราที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาตินั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท การก่อมลพิษ เป็นการ ทําลายสิ่งแวดล้อมขั้นอุกฤษประเภทหนึ่ง เพราะสามารถทำลายสุขภาพ และความเป็นอยู่ของคนเราทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างกว้างขวาง บรรดาลูกจ้างที่ขาดความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะ มีพฤติกรรมก่อมลพิษได้หลายทาง เช่นทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในลำน้ำ ซึ่ง จะเป็นเหตุให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำในคูคลองต่างๆ เมื่อเน่าเสียก็ย่อมจะส่งกลิ่นเหม็น เป็นการก่อมลพิษทั้งในน้ำและอากาศ การไม่เอาใจใส่ดูแลเครื่องยนต์ในยวดยานพาหนะต่างๆ เช่น มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ต่างๆ เมื่อใช้ขับขี่ก็จะปล่อยควันพิษเหม็น และส่งเสียงดังมาก เป็นการก่อมลพิษทั้งในอากาศและทางเสียง การปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับ การบำาบัด และการทิ้งสารพิษจากโรงงานย่อมเป็นการก่อมลพิษในแม่น้ำ ลำคลอง ที่ก่อผลเสียอย่างกว้างขวาง ลูกจ้างที่ก่อมลพิษต่างๆ ดังกล่าว บางคนทำเพราะไม่รู้จริงๆ บางคนทำเพราะมักง่าย บางคนทำเพราะต้องการกลั่นแกล้งเพื่อนฝูง หรือ นายจ้าง เพราะฉะนั้น ผู้เป็นนายจ้างทั้งหลาย จำเป็นต้องเข้าใจพื้นเพ และต้องเอาใจใส่ดูแลลูกจ้างของตนอย่างรอบคอบ ต้องให้การฝึกฝน อบรมในการทางานโดยให้มีความเข้าใจเจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์ของ ๒๒๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More