ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ ๒
ใหญ่ จึงกระทำการต่างๆ ที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ผลร้ายอันเกิดจาก
สิ่งแวดล้อมที่ถูกทําลายนั้น มักไม่เกิดขึ้นฉับพลันทันที แต่จะค่อยเป็น
ค่อยไปในทางเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ กว่าผู้คนจะได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน
ย่อมมีระยะเวลานาน ครั้นเมื่อได้ประจักษ์แล้ว ก็สุดที่จะหาทางเยียวยา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญาตระหนักในคุณค่าของ
สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงห้ามพระภิกษุมิให้ทําลายสิ่งแวดล้อมด้วย
ประการต่างๆ ดังจะเห็นจากตัวอย่างสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ดังนี้
๑. ทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุที่ทำให้
ต้นไม้ตาย
QO
๒. ทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุที่เผาป่า
๓. ทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุที่ถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว (ต้นไม้) ลงในน้ำ
จากพุทธประวัติ เราย่อมทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ทรงมีชีวิตอยู่อย่างใกล้ชิดและทรงประทับอยู่กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
อย่างแท้จริง นับตั้งแต่การประสูติ การเสด็จออกบรรพชา การตรัสรู้พระ
สัมมาสัมโพธิญาณ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการเสด็จดับขันธ
ปรินิพพาน ทั้งหมดนี้ย่อมมีนัยแสดงว่า สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่ดีพร้อม
นั้นสามารถอ่านวยความสุข ทั้งทางกายและใจให้แก่มนุษย์เรา
อนึ่ง จากที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ ย่อมเห็นได้ว่า คนเราจำเป็น
ต้องพึ่งพาทั้งสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวและไกลตัว สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวได้แก่ ที่อยู่
๑๐ วิมหา มก. ๔/๓๕๔/๒๖๗ (ต้นไม้ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ พืช ๕ ชนิด คือ
๑) พืชเกิดจากเหง้า
๒) พืชเกิดจากต้น ๓) พืชเกิดจากข้อ
๔) พืชเกิดจากยอด ๕) พืชเกิดจากเมล็ด)