คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 38
หน้าที่ 38 / 397

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาอธิบายถึงความเข้าใจในกรรมที่เกิดจากการกระทำของตนเองว่าควรไม่โทษผู้อื่นและยอมรับผลกรรมของตนโดยดุษณีภาพ ความเข้าใจในสัมมาทิฏฐิระดับที่ 4 และ 5 จะเพิ่มความสว่างในใจและช่วยให้เกิดปัญญา ที่จะนำไปสู่การตรองหาเหตุผลเกี่ยวกับชีวิตและวัฏจักรแห่งการเกิดและตาย การดูแลจิตใจและการกระทำในชีวิตนี้มีความสำคัญต่อการเดินทางในสังสารวัฏอย่างเชื่อมโยง.

หัวข้อประเด็น

-กรรมดีและกรรมชั่ว
-สัมมาทิฏฐิระดับที่ 4
-สัมมาทิฏฐิระดับที่ 5
-การเกิดและตาย
-การยอมรับในตัวตน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๔ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ จากกรรมดีที่เขาทำเอง ไม่มีเทวดาหรือผู้วิเศษในที่เร้นลับใดๆ บันดาลให้ เช่น เพราะขยันเรียน จึงได้รับเกียรตินิยม เป็นต้น ในทางกลับกัน ผลแห่งกรรมชั่วที่เขาเคยได้รับ ก็ล้วนเกิดจากกรร มชั่วที่เขาทำเอง อาจทำเพราะไม่รู้ เพราะประมาท เป็นต้น เช่น เพราะ เกียจคร้านในการเรียน จึงสอบตก ดังนั้นเขาจึงไม่โทษผู้อื่น ไม่โทษโชค ชะตา แต่โทษตนเอง ยอมรับผลกรรมของตนโดยดุษณีภาพ เข้าใจถูกเช่นนี้คือการยอมรับความมีตัวตนของตน นี่คือความหมาย ของ “โลกนี้มี” ตามนัยแห่งสัมมาทิฏฐิระดับที่ 4 ความ ความเข้าใจถูกในระดับนี้ จะทำให้ความสว่างในใจของบุคคลเพิ่มขึ้น อีก จนเกิดปัญญาสามารถตรองหาเหตุผล เกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิระดับถัด ไปได้โดยง่าย ៦ สัมมาทิฏฐิระดับที่ 5 โลกหน้ามี หมายความว่า ชีวิตของสัตวโลก จะดำเนินต่อไปเรื่อย เป็นวงจรไม่รู้จบ คือ เกิด ตาย เกิด โดย ไม่มี การยุติ ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส) จึงมีคำศัพท์ในพระพุทธศาสนาว่า “สังสารวัฏ” ซึ่งหมายถึงการเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกามภพ' อย่างไม่รู้จบ สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิระดับที่ 5 นี้ อยู่ตรงที่ตายแล้วไม่สูญ ยังจะต้องเกิดอีก สิ่งที่สูญคือกาย แต่เจ้าของกายคือใจยังอยู่ (จะอยู่ใน รูปแบบใดก็แล้วแต่) ทำนองเดียวกับบ้านเมื่อถูกไฟไหม้แล้ว ผู้เป็นเจ้าของ ก็จะยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งย่อมจะต้องหาซื้อหรือสร้างบ้านหลังใหม่ขึ้นมาอาศัย อยู่ต่อไป บ้านหลังที่ถูกไฟไหม้ เปรียบได้กับ “โลกนี้” ส่วนบ้านหลัง ใหม่เปรียบได้กับ “โลกหน้า ๕ โลกเป็นที่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก โลกสวรรค์ 5 ชั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More