เกณฑ์มาตรฐานคนดีตามพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 93
หน้าที่ 93 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ สรุปคุณสมบัติของคนดีในทัศนะของพระพุทธศาสนา มีด้วยกัน ๔ ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบเหล่านี้ช่วยให้บุคคลสามารถเป็นคนดีที่มีชีวิตอย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-ความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรี
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-ศีลธรรมทางเศรษฐกิจ
-การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สรุปเกณฑ์มาตรฐานคนดี บทที่ ๒ ด้วยพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส เทศนาอริยวินัยในระดับชาวบ้านไว้เป็นวินัยของคฤหัสถ์ เรียกว่า “คิริวินัย” สำหรับคฤหัสถ์หรือประชาชนทั่วไปยึดเป็นหลักประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เป็น คนดี มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข และสามารถช่วยกันพัฒนาสังคมประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วย ซึ่งสามารถสรุปคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ตามทรรศนะทางพระพุทธศาสนาได้ ๔ ประการ คือ ๑. เป็นผู้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์ของตนเอง (ด้วยการมีอริยวินัยควบคุม และกำจัดกรรมกิเลส ๔) ๒. เป็นผู้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมหรือต่อศักดิ์ศรีแห่ง ๒๕ ความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่นซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคม (ด้วยการมีอริยวินัยควบคุม และกำจัดความลำเอียง ๔) ๓. เป็นผู้มีความสํานึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ (ด้วยการมีอริยวินัยควบคุมตนให้พ้นอบายมุข ๖) ๔. เป็นผู้มีความสํานึกรับผิดชอบต่อทิศ 5 และต่อสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ (ด้วยการมีอริยวินัยปิดป้องทิศ ๖ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) ความรับผิดชอบทั้ง ๔ ประการ อันเป็นคุณสมบัติของคนดีที่ โลกต้องการ สามารถแสดงด้วยแผนภูมิ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน ดังนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More