ผลกระทบของการปล่อยปละละเลยในเยาวชน คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 263
หน้าที่ 263 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงปัญหาของเยาวชนที่ห่างไกลจากการดูแลของผู้ปกครอง และนำไปสู่การกระทำความผิดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการคบค้าสมาคมในเรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานที่มั่นคงส่งผลให้เยาวชนเหล่านี้อาจกลายเป็นปัญหาในสังคมในอนาคต ท่ามกลางค่านิยมและสิ่งเร้าจากสังคมโลกาภิวัตน์ที่เข้ามากระทบจิตใจเด็กที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความรู้และประสบการณ์ในวัยนี้นั้นไม่เพียงพอในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ นำมาซึ่งการเป็นมิตรที่ไม่ดีในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบจากการปล่อยปละละเลย
-ความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเยาวชน
-การกระทำผิดในหมู่เด็กและวัยรุ่น
-ค่านิยมของเยาวชนในยุคปัจจุบัน
-ปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเด็กและความสัมพันธ์ในวัยรุ่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ เด็กที่พลาดโอกาสจากรสธรรมะทั้ง ๒ ประการนี้ (รวมทั้ง เรื่องอื่นๆ ด้วย) จากทิศเบื้องหน้า และเบื้องขวาเสียแล้ว ประกอบกับวัย ที่เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ลูกระเบิดที่คล้องคอพวกเขาอยู่นั้น ย่อมจะมี ขนาดโตตามตัวไปด้วย ซึ่งย่อมจะมีสมรรถนะในการทําลายล้างสูงขึ้นอีก นั่นคือถ้าพวกเขาคิดจะทําความชั่วก็ย่อมจะทำได้ร้ายแรงกว่าเมื่อยังเป็นเด็ก อยู่ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ยินข่าวเด็กชายสมคบกันเป็นตีนแมวงัดแงะ โจรกรรมบ้านเรือนประชาชน เพื่อหาเงินไปเที่ยวกลางคืน หรืออีกข่าวหนึ่ง ทีเกรียวกราวมากก็คือเด็กหญิงขายบริการทางเพศ สิ่งที่น่าเป็นห่วงเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์นี้เป็นอย่างมากก็คือ ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และสิ่งเร้าต่างๆ ในสังคม ที่ทำให้เยาวชนซึ่งอยู่ ห่างไกลจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เยาวชนที่พ่อแม่ผู้ปกครองปล่อยปละละเลย รวมทั้งเยาวชนที่เร่ร่อน ต่างมั่วสุมเกี่ยวข้องกันด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ถึงขั้น อยู่กินฉันผัวเมีย ในขณะที่ยังเป็นนักเรียนมัธยมกันอยู่ในขณะที่ยังไม่มี สัมมาอาชีพเลี้ยงตัวเอง 9 ถามว่าเยาวชนเหล่านี้จะก่อมหาวิบัติอะไรให้สังคมบ้าง? ตอบได้ว่าเด็กในวัยนี้แม้บางคนจะมีวุฒิภาวะทางกาย แต่ทาง ใจนั้นยังไม่มี พวกเขาก็ยังเป็นเด็กที่ชอบสนุกสนานตามประสาเด็กนั่นเอง การอยู่กินร่วมกันฉันผัวเมียของพวกเขานั้นล้วนเป็นเรื่องของกามารมณ์ นำหน้า มิได้ตั้งอยู่บนรากฐานหรือเหตุผลของการเลือกคู่ครองที่ดี เพื่อ เป็นกัลยาณมิตรประคับประคองพึ่งพากันไปตลอดชีวิต ความรู้แค่หางอึ่ง ที่พวกเขามีอยู่นั้นจะสามารถเอื้ออำนวยในการทำมาหากินเลี้ยงชีวิตได้ดี เพียงใด ยิ่งถ้าเยาวชนเหล่านี้ต้องมีสถานภาพเป็นพ่อแม่อีกด้วย พวกเขา ก็คงจะเป็นเสมือนหนึ่งธัญพืชพิษในสังคมที่จะแพร่ “กล้า” ของพันธุ์ไม้พิษ คือลูกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไว้แพร่พันธุ์ในสังคมอย่างต่อเนื่องชั่วลูกชั่วหลาน ២៤៩
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More