คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 108
หน้าที่ 108 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนในแง่ของศีลธรรมและความดี โดยเน้นว่ายิ่งคนมีปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเข้าใจธรรมะและทำให้ตัวเองดีขึ้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบทบาทของอบายมุข 5 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในสังคมให้ละเมิดศีลธรรม โดยหากคนมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจจะสามารถพัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสังคมได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-ความดีความชั่วของมนุษย์
-ศีลธรรมและเศรษฐกิจ
-อบายมุข 5
-ความรับผิดชอบต่อสังคม
-การพัฒนาตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

៩៤ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คนที่ปากท้องอิ่มแล้วย่อมจะรับฟังธรรมะได้ง่าย แต่ทั้งนี้ก็ มิได้หมายความว่า คนที่ปากท้องอิ่มแล้วจะเป็นคนดีเสมอไป เพราะถ้าคน ที่ปากท้องอิ่มแล้วต้องเป็นคนดี เศรษฐีก็คงเป็นคนดีกันทุกคน แต่ความ จริงที่ปรากฏคือ มีเศรษฐีจำนวนมากเป็นคนเลว พัวพันเกี่ยวข้องอยู่กับ เรื่องผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย สำหรับคนจนนั้นขอเพียงแต่ไม่อดอยาก ยากไร้เหลือทน เขาก็เป็นคนดีได้ ดังนั้นความดีความชั่วของคนจึงไม่สามารถ วัดกันที่ความรวยหรือความจน อย่างไรก็ตาม คนที่ฟังธรรมได้เข้าใจ สามารถ นำธรรมะไปพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจให้ก้าวหน้าได้มากกว่าคนอื่นๆ คือ คนที่ไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง นอกจากนี้ พระพุทธองค์คงจะทรงเห็นว่า อบายมุข 5 คือ ตัว ผลักดันให้คนเราประพฤติกรรมกิเลส ๔ อคติ ๔ ปิดป้องทิศ 5 ไม่ได้ และทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ถ้าคนเรามีจิตสำนึก รับผิด ชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงแล้ว เขาย่อมเกิดความ สำนึก รับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ต่อสังคม หรือต่อ ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ซึ่งร่วมสังคม) ต่อทิศ 5 และต่อสิ่ง แวดล้อมตามธรรมชาติได้โดยง่าย นั่นคือคนที่เห็นโทษของ อบายมุข 5 อย่างชัดเจน ไม่พัวพันเกี่ยวข้องกับอบายมุข 5 ย่อมเป็น คนมีอริยวินัย ควบคุมตนในด้านเศรษฐกิจส่วนตัวเป็นอย่างดี ย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็น คนดีอย่างแน่นอน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More