ข้อความต้นฉบับในหน้า
២៩២
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
แนวคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังอริยวินัย
การปลูกฝังอริยวินัยในที่นี้ หมายถึงการปลูกฝังอบรมและการชี้แนะ
นักเรียน เพื่อให้มีลักษณะนิสัยอันเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสังคม ๓
ประการคือ
๑.
คุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการ ๔ ประการ
๒. คุณสมบัติของมิตรแท้ ๑๖ ประการ
๓. คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ๗ ประการ
การปลูกฝังอริยวินัยให้แก่นักเรียนในโรงเรียนกัลยาณมิตร ถือว่า
เป็นหน้าที่รับผิดชอบของครูอาจารย์ทุกคนในโรงเรียน มิใช่ปล่อยให้เป็น
หน้าที่รับผิดชอบของอาจารย์ประจําวิชาพระพุทธศาสนา หรืออาจารย์ฝ่าย
ปกครองโดยเฉพาะเท่านั้น
ถึงแม้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จะกำหนดให้
ผู้เรียนมีความสําคัญที่สุดในห้องเรียน และกำหนดบทบาทของครูให้เป็น
ผู้ทำงานร่วมกับผู้เรียนในการแสวงหา และป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ผู้
เรียนก็ตาม แต่ครูก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูล และ
มีความรอบรู้ในการแสวงหาข้อมูลมากกว่าผู้เรียนอยู่นั่นเอง
เพราะฉะนั้น แทนที่ครูจะป้อนข้อมูลเฉพาะวิชาที่ตนสอน ก็ควร
จะหาโอกาสสอดแทรกข้อมูลด้านอริยวินัยให้แก่ผู้เรียนด้วย เพราะถ้า
ศิษย์ของครูมีแต่ความรู้ทางโลก โดยปราศจากความรู้ทางธรรม หรือ
ปราศจากอริยวินัย พวกเขาก็คงจะไม่สามารถประสบความสุขและความ
สำเร็จในชีวิตได้เลย
ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังอาจจะเป็นผู้ก่อปัญหาวิกฤตด้านต่างๆ ขึ้น
ในสังคมและบ้านเมือง ตั้งแต่ขณะที่เขายังเป็นเยาวชน แม้จนกระทั่ง
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังมีตัวอย่างปรากฏให้เห็นกันทั่วไปในบ้านเมืองเรา