อิทธิพลของทิศ ๖ และอริยวินัยในชีวิต คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 151
หน้าที่ 151 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๖ ว่าด้วยการบิณฑบาตและอิทธิพลของทิศ ๖ โดยมุ่งเน้นการสร้างการเข้าใจในคุณสมบัติคนดีที่สังคมต้องการ การปฏิบัติตามอริยวินัยระหว่างตัวเราและผู้อื่นเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณธรรม บทนี้ชี้ให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อกันและกันในสังคมเพื่อสร้างสังคมที่ปราศจากคนชั่วและคนเลว.

หัวข้อประเด็น

-อิทธิพลของทิศ ๖
-การบิณฑบาต
-คุณสมบัติของคนดี
-อริยวินัยในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ บิณฑบาต ก็สามารถทำให้สิงคาลกะเกิดความเข้าใจซาบซึ้งถึงคุณสมบัติ ของคนดีที่โลกต้องการ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นในตัวบุคคลได้ ด้วยอิทธิพลของ ทิศ ๖ อิทธิพลของทิศ ๖ ได้กล่าวแล้วว่า ชีวิตของคนเราจะดีหรือชั่ว ย่อมขึ้นอยู่กับอิทธิพล ของทิศ 5 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดให้แต่ละคนเป็นศูนย์กลาง ๑๓ แวดล้อมด้วยทิศ 5 และทรงกำหนดหน้าที่รับผิดชอบเป็นอริยวินัย ที่ ตัวเราเองต้องปฏิบัติต่อทิศ 5 และทิศ 5 ต้องปฏิบัติต่อตัวเราอย่างเคร่งครัด ถ้าต่างฝ่ายต่างปฏิบัติต่อกันและกันตามอริยวินัย คุณสมบัติของ คนดีที่โลกต้องการ ทั้ง ๔ ประการ ย่อมเกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายทุกคนในสังคม โดยที่ไม่มีใครเป็นมิตรเทียม หรือคนชั่วคนเลวของสังคมเลย ต่อไปนี้ขอให้เราได้พิจารณาอริยวินัยของแต่ละทิศไปตามลำดับ (โดยจะเรียกบุคคลที่แวดล้อมตัวเราในแต่ละทิศว่า เพื่อน)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More