ข้อความต้นฉบับในหน้า
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
ดังนั้น วินัยของอริยสาวก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“อริยวินัย” จึงมีความหมายเป็น ๒ นัย คือ
๑) เป็นวินัย สำหรับฝึกอบรมกายวาจาของปุถุชน คนมีกิเลส
หนาทั่วๆ ไป เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอริยะ แม้ในระยะแรกที่ฝึก อาจจะ
รู้สึกอึดอัดหรือต่อต้านบ้าง ก็ยอมทน แต่เมื่อคุ้นเคยแล้ว ใจก็จะสงบลง
เลิกต่อต้าน เพราะได้ตระหนักในคุณค่าแล้ว จึงตั้งใจฝึกอบรมตนยิ่งขึ้น
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของตน
๒) เป็นวินัย ซึ่งอริยสาวกขีดถือปฏิบัติกันเป็นปรกตินิสัยด้วย
ความเคยชิน จึงครองชีวิตอย่างมีความอยู่สุข (ดังนั้น วินัยในระดับนี้จึง
กลายเป็นศีลของท่าน) ความเจริญรุ่งเรือง ไม่มีตกต่ำ ยิ่งกว่านั้นท่านยังมอง
เห็นโทษภัยของการละเมิดวินัยได้ชัดเจนว่า เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิได้
และเพราะเหตุที่กิเลสรากเหง้าของท่านหมดไปแล้ว ท่านจึงครองชีวิตแบบ
ยอมตายแต่ไม่ยอมเสียศีล เป็นลักษณะนิสัยประจำใจ
๔. ทิศ ๖
คำว่า ทิศ ในเรื่องนี้ มิได้หมายถึงทิศทางภูมิศาสตร์ แต่
หมายถึง บุคคลแวดล้อมใกล้ชิดตัวเรา ซึ่งมีอยู่ 5 กลุ่ม คือ ๑) พ่อแม่
๒) ครูอาจารย์ ๓) สามี/ภรรยา ๔) เพื่อน ๕) ลูกน้อง ๖) สมณะ
พราหมณ์ และไม่ว่าสิงคาลกะหรือใครๆ ในโลกนี้ ล้วนมีบุคคลแวดล้อม
อย่างมากไม่เกิน 5 กลุ่มเหล่านี้ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “ทิศ 5