การจัดการทรัพย์ตามหลักพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 142
หน้าที่ 142 / 397

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์เสนอแนวทางการบริหารทรัพย์สินตามพระอริยวินัย โดยแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การใช้จ่ายเลี้ยงชีพ การลงทุนในธุรกิจ การสำรองเงินเพื่อความปลอดภัย และการทำบุญเพื่ออนาคต โดยการเก็บสะสมทรัพย์ทั้งสองด้านจะช่วยปกป้องตนเองในยามเศร้าโศกและเมื่อญาติพี่น้องมีปัญหา dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การบริหารทรัพย์
-หลักการใช้ชีวิต
-การทำบุญ
-การลงทุนเพื่ออนาคต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๒๘ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ การสะสมโภคทรัพย์ เพื่อให้บุคคลมีความมั่งคั่งร่ำรวยแล้ว พระพุทธองค์ ก็ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณห่วงใยคฤหัสถ์ ด้วยทรงเกรงว่า จะบริหาร จัดการกับทรัพย์ของตนอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ จึงได้ตรัสแสดงอริยวินัยในการใช้ทรัพย์ โดยให้แบ่งทรัพย์ที่หามาได้นั่นออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้ ฤ ๑. ส่วนที่หนึ่ง สําหรับใช้สอยเลี้ยงชีวิตและครอบครัว ให้เป็นสุข ไม่ให้อดอยาก หรือ ทรมานตนเองและครอบครัวโดยใช่เหตุ ๒ - ๓ อีกสองส่วน สำหรับใช้ประกอบธุรกิจการงาน เช่น เพื่อ การลงทุน เพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับใช้ในการประกอบอาชีพ ๔. ส่วนที่สี่ เก็บไว้สําหรับใช้คุ้มครองป้องกันตนยามมีอันตราย คำว่า “เก็บไว้” ในที่นี้ย่อมมีความหมายเป็น ๒ นัย คือ ๑) เก็บไว้ใช้ป้องกันอันตรายในชาตินี้ เช่น อันตรายจากการ เจ็บไข้ได้ป่วย อันตรายจากภัยธรรมชาติ จากโจรภัย อัคคีภัย บางทีก็อาจ จะมีภัยอันเกิดจากพระราชา หรือนักการเมืองผู้หลงผิด เป็นต้น ถ้าเรามี เงินเก็บไว้ เราก็ไม่จําเป็นต้องไปรบกวนญาติมิตร นอกจากนี้ ยังเก็บไว้สําหรับช่วยเหลือญาติสนิทมิตรสหายใน ยามที่เขาประสบปัญหา เดือดร้อน ทั้ง ๒ กรณีย่อมเป็นเครื่องผูกมิตรไว้ ได้ คือเราเองก็ไม่ต้องไปรบกวนญาติมิตรในยามที่เราเดือดร้อน ครั้นเมื่อ ญาติมิตรเดือดร้อน เราก็สามารถช่วยเหลือได้ ๒) เก็บไว้ใช้ป้องกันอันตรายในชาติหน้า ด้วยการแบ่งไปทําบุญ กุศล มีการถวายทานแก่พระภิกษุ การบริจาคเพื่อสร้างศาสนวัตถุหรือ ศาสนสถาน การช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้ประสบภัยต่างๆ ฯลฯ การสร้าง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More