คุณสมบัติของคนดีและกรรมกิเลส คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 65
หน้าที่ 65 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ แสดงถึงคุณสมบัติแรกของคนดีคือ ความรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ โดยการมีอริยวินัยควบคุมกรรมกิเลสที่มี ๔ ประการ ได้แก่ 1) ปาณาติบาต 2) อทินนาทาน 3) กาเมสุมิจฉาจาร 4) มุสาวาท ซึ่งกรรมกิเลสทั้ง ๔ นี้ คนดีไม่ทำ เพราะมีอริยวินัยใช้เป็นเครื่องกำกับการกระทำ

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของคนดี
-กรรมกิเลส
-อริยวินัย
-ศีลธรรม
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ คุณสมบัติของคนดีลำดับที่ ๑ : มีความสํานึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์ของตนเอง กิเลส คุณสมบัติประการแรกของคนดี คือ มีอริยวินัยควบคุมกรรม กรรมกิเลสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรนี้ มี ๔ ประการ คือ ๑) ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่า การประทุษร้ายกัน รวม ทั้งการเบียดเบียนกันทางกายด้วยวิธีต่างๆ ๒) อทินนาทาน หมายถึง การถือเอาของที่เขามิได้ให้ การลัก ขโมย การโกง การละเมิดกรรมสิทธิ์ ตลอดจนการทําลายทรัพย์สินของผู้ อื่น ๓) กาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง ความประพฤติล่วงเกินหรือ ประพฤติผิดทางเพศ การล่วงละเมิดบุคคลที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน ๔) มุสาวาท หมายถึง การพูดเท็จ ส่อเสียด หลอกลวง พูด หยาบคาย ตลอดจนการนินทาว่าร้าย แม้การให้สัมภาษณ์สื่อต่างๆ โดย มิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบก็จัดอยู่ในข้อนี้ กรรมกิเลส ๓ ข้อแรก เป็นกรรมชั่วทางกาย ส่วนข้อ ๔ เป็นกรรมชั่วทางวาจา กรรมกิเลสทั้ง ๔ ข้อนี้ คนดีเขาไม่ทำกัน เพราะมี อริยวินัยหรือมีศีลเป็นเครื่องกำกับ มีแต่คนชั่วคนบาปเท่านั้นที่กระทำ บัณฑิตจึงไม่สรรเสริญ ชาวพุทธโดยทั่วไปจะรู้จักกรรมกิเลส ๔ นี้ในฐานะที่เป็นศีล ๔ ข้อแรกในศีล ๕ ดังนั้นจึงอาจมีผู้สงสัยว่า เหตุใดพระสูตรนี้พระพุทธองค์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More