ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๓๒
คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์
กฎแห่งกรรม ย่อมไม่มีหิริโอตตัปปะ คือความกลัวและอายบาปจึง
ประพฤติตนตามอำนาจกิเลสในจิตใจ คือ ความโลภ ความโกรธ และ
ความหลง และกามราคะ เข้าลักษณะเป็นคนทุศีลในทุกเรื่อง
ในเมื่อผู้คนในสังคมล้วนแต่มีมิจฉาทิฏฐิ ในที่สุดทิศเบื้องบน
เองก็จะถูกมิจฉาทิฏฐิบุคคลเข้าไปมีอิทธิพลครอบง่า ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ทางตรงก็คือบวชเข้าไปเป็นบรรพชิตในพระศาสนา และมีพฤติกรรมเยี่ยง
อลัชชี ทางอ้อมก็คือเบียดบังผลประโยชน์ของพระศาสนา ในฐานะผู้สนอง
งานรับใช้ทิศเบื้องบน เป็นต้น
๒) ใช้วจีกรรมท่าลายพระพุทธศาสนา คฤหัสถ์ที่ไม่มีศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ในสังคมไทยส่วนใหญ่จะประกาศตนว่าเป็น
ชาวพุทธ ด้วยการเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ทางพระศาสนาบ้าง แสดงตน
ให้สังคมรู้ว่า ตนมีวุฒิระดับสูงทางพระพุทธศาสนาบ้าง เช่น เป็นมหา
เปรียญธรรมประโยคสูงๆ แต่ในชีวิตประจำวันยังดื่มเหล้าเคล้านารี เล่น
พา กีฬาบัตรอยู่ ไม่เคยปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้เป็นตัวอย่างต่อสังคมเลย เข้าทำนองที่เรียกกันว่า “มือถือสากปากถือศีล”
นนเอง
การใช้วจีกรรมทําลายพระพุทธศาสนาของคนมิจฉาทิฏฐิ มีอยู่
หลายลักษณะทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็คือการกล่าววิพากษ์วิจารณ์
หรือให้ร้ายทิศเบื้องบน หรือวงการสงฆ์โดยรวม โดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง
โฆษณาชวนเชื่อ นินทาว่าร้ายหรือจ้วงจาบพระสงฆ์บางรูปซึ่งมุ่งหน้าสร้าง
บารมีพร้อมๆ กับการพัฒนาสังคมไปด้วย แต่การกระทำของท่านกลาย
เป็นอุปสรรคต่อมิจฉาอาชีวะของพวกเขา
ทางอ้อมก็คือ การแสดงวจีทุจริต เช่น พูดโกหก พูดคำหยาบ
พูดส่อเสียด ตลอดจนนินทาว่าร้ายผู้อื่นในชีวิตประจําวัน แม้การแสดงวจี
ทุจริต จะเป็นการทำกรรมกิเลสหรือทำผิดศีลของปัจเจกบุคคลโดยตรง