ความลำเอียงและผลกระทบในสังคม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 83
หน้าที่ 83 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความลำเอียงและการทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง โดยอ้างอิงถึงคำสอนในสิงคาลกสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ประพฤติอย่างลำเอียงจะเสื่อมเสียทั้งเกียรติและชื่อเสียง แม้จะได้รับประโยชน์ส่วนตน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้มีใจดีและมีความเป็นธรรมจะเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่รักษาความเป็นธรรมจะมีเกียรติยศต่อไป ปัญหาของความลำเอียงจึงไม่ได้ส่งผลต่อบุคคลเพียงเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมให้เกิดความไม่เป็นธรรมและการแบ่งปันทรัพยากรที่ไม่ทั่วถึง.

หัวข้อประเด็น

-ความลำเอียง
-ผลกระทบต่อสังคม
-เกียรติยศและชื่อเสียง
-คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ ความลำเอียงนอกจากจะเป็นการทำลายประโยชน์สุขของสังคมโดยรวมแล้ว ยังทําลายเกียรติยศชื่อเสียงตลอดจนประโยชน์สุขของตนเองด้วย ดังที่พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรว่า “ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม (ขาดความเป็นธรรม กลั่นแกล้งผู้ อื่น) เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของผู้นั้นย่อม เสื่อมเหมือนดวงจันทร์ข้างแรม” 2 จากพุทธภาษิตนี้ย่อมหมายความว่า ความลำเอียงเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตนบ้าง ส่วนครอบครัวบ้าง ส่วนพรรคพวกหมู่คณะของตน บ้าง แม้จะได้รับความสุขสบายก็เพียงเล็กน้อย แต่ในที่สุดก็จะถูกติฉินนินทา ทั้งนี้เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด ผู้มีอำนาจที่ลำเอียง ย่อมไม่ยอม กระจายทรัพยากรให้แก่ส่วนรวม พยายามยึดครองไว้เป็นของตนหรือพรรค ม พวกของตน เขาจึงไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนรวม จึงเสื่อมศักดิ์ ๖๕ ศรี และเกียรติยศ ชื่อเสียง เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม แม้ในตอนแรกจะ ยังมีแสงสว่างอยู่ แต่แสงสว่างก็จะลดลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็มืดมิดหายไป ตรงกันข้าม คนดี มีใจกว้าง มีใจละเอียด มีโยนิโสมนสิการ เล็งเห็นโทษของความอยุติธรรม จึงควบคุมกาย วาจาของตนให้ตั้งอยู่ใน ความเป็นธรรมเสมอ จึงประสบแต่ความสุขความเจริญ และมีเกียรติยศ ชื่อเสียง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรว่า “ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม (ลำเอียง) เพราะความรัก ความ ความกลัว ความหลง ยศย่อมเจริญแก่ผู้นั้น เหมือนดวงจันทร์ ในข้างขึ้น" ชง ๙ สิงคาลกสูตร ที.ปา.มก. ๑๖/๑๗๗/๒๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More