สิงคาลกสูตรกับปัญหาวิกฤตของชาติ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 353
หน้าที่ 353 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสามารถในการนำความรู้จากสิงคาลกสูตรมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตในด้านต่างๆ การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัญหาประเทศมีการทับถมเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงก่อน โดยไม่ถูกมองเห็นอย่างชัดเจน จนกระทั่งเกิดวิกฤตในช่วงสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมา การเปรียบเทียบกับคนไข้ที่กำลังประสบปัญหาจริงจังพร้อมแจ้งชัดถึงอาการของเวทนาในแต่ละด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทำให้เห็นว่าแต้มความรุนแรงของปัญหานั้นเกิดขึ้นจากกลไกที่สะสมมานาน.

หัวข้อประเด็น

- การวิเคราะห์วิกฤตชาติ
- ความรู้จากสิงคาลกสูตร
- ปัญหาสังคมในไทย
- สถานการณ์เศรษฐกิจ
- ปัญหาการเมืองในประเทศ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๙ สิงคาลกสูตรกับปัญหาวิกฤตของชาติ ถ้าถามว่าเราจะนําความรู้จากสิงคาลกสูตร มาแก้ปัญหาวิกฤต ของชาติบ้านเมือง ที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาเป็นเวลาสี่ห้าปีแล้วนี้ได้หรือ ไม่ อย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ขอให้เราได้ร่วมกันพิจารณาให้เห็น สภาพปัญหาของชาติบ้านเมืองของเราให้ชัดเจนเสียก่อน แท้ที่จริงปัญหาต่างๆ ในบ้านเมืองของเรามิใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ ได้ทะยอยทับถมกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ทั้งปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เพียงแต่ยังไม่เข้าขั้นวิกฤต เราจึงมองไม่เห็น ปัญหาได้ชัดเจน มีบางช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของชาติดีขึ้น จึงอาจมีคนคิดกันว่า บ้านเมืองเราไม่มีปัญหาอะไรร้ายแรง แต่แท้ที่จริงปัญหาสังคมและ การเมืองนั้นมีอยู่ตลอดเวลา และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ครั้นเมื่อ เศรษฐกิจฟองสบู่แตก กลายเป็นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาสังคมและ การเมืองก็เผยโฉมออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน กลายเป็นปัญหาวิกฤตทั้ง ๓ ด้าน พร้อมกัน ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นคนไข้อัมพาต ก็อาจกล่าวได้ว่า ก่อนถึงวันที่คนไข้จะล้มหมอนนอนเสื่อ ก็ยังดูแข็งแรงดี แต่แท้ที่จริง ร่างกายของคนไข้ ก็ถูกโรคาพยาธิรุมเร้าอยู่เรื่อยมาขนาดพอทนได้ ครั้น ถึงวันที่ลมอัมพาตจับก็หมดพลังทนทาน ต้องนอนให้แพทย์รักษาเยียวยา อย่างเดียว ไปไหนมาไหนไม่ได้ นั่นแหละจึงจะเห็นกันชัดๆ ว่าได้กลาย เป็นคนไข้ไปแล้ว ขณะนี้เราได้ทราบแล้วว่า ปัญหาวิกฤติทั้ง ๓ ด้านที่ประเทศ ไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ แท้ที่จริงเป็นปัญหาเรื้อรังมานานแล้ว แต่เพิ่งจะทวี ความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตในระยะสี่ห้าปีมานี้ จึงมีคำถามว่า สาเหตุพื้นฐาน ของปัญหาเหล่านี้คืออะไร? ကက
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More