คุณสมบัติของบัณฑิตผู้สมบูรณ์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 395
หน้าที่ 395 / 397

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความสำคัญของคุณสมบัติของบัณฑิตผู้สมบูรณ์ ซึ่งมีศีล และมีความประพฤติที่เหมาะสมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีไหวพริบ ความฉลาดในการประพฤติตน ส่งผลให้ได้รับยศและเกียรติในชีวิต นอกจากนี้ยังมีการเน้นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น การมีไมตรีจิต และการแสดงออกไปในทางที่สร้างสรรค์ ซึ่งร่วมกันช่วยเสริมสร้างความสงบและความเข้มแข็งในสังคม. การให้และการวางตัวสม่ำเสมอเป็นปัจจัยที่ช่วยให้องค์กรหรือสังคมเจริญก้าวหน้า.

หัวข้อประเด็น

-คุณสมบัติของบัณฑิต
-ศีลและความประพฤติในสังคม
-ความสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่น
-การวางตัวสม่ำเสมอ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภาคผนวก บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนขยัน ไม่เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน ๆ มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนชอบสงเคราะห์ ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนำ ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนี้ ย่อมได้ยศ ทาน (การให้) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่น่ารัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้ และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ในธรรมนั้นๆ ควรสมควร สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก เหมือนลิ่มสลักเพลาคมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น ๒ มีไหวพริบ ในที่นี้หมายถึง มีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือเข้าใจความหมายของ การไหว้อย่างถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐) ๓ ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้หมายถึง ประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย (ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐) ๔ รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้หมายถึง เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติตามนั้น (ที.ปา.อ. ๒๗๓/๑๕๐) ៣៨១
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More