ภูมิคุ้มกันจิตใจและผลกระทบของมิจฉาทิฏฐิต่อเยาวชน คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 251
หน้าที่ 251 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงความสำคัญของภูมิคุ้มกันจิตใจที่มีประสิทธิภาพและผลกระทบของมิจฉาทิฏฐิต่อเยาวชนในสังคมปัจจุบัน โดยชี้ให้เห็นว่าถ้าหากผู้ใหญ่ขาดอริยวินัย สัมมาทิฏฐิจะถูกเบี่ยงเบนไป ซึ่งส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติของเยาวชน ด้วยการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี รวมถึงการนิยมชมชอบอบายมุข เช่น การดื่มสุราและสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตและการศึกษา พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคตของเยาวชนอย่างชัดเจนและควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อให้เยาวชนมีแนวทางที่ดีในการดำเนินชีวิต และสามารถพัฒนาศักยภาพในทางที่ถูกต้องได้.

หัวข้อประเด็น

-ภูมิคุ้มกันจิตใจ
-มิจฉาทิฏฐิ
-อบายมุข
-พฤติกรรมเยาวชน
-อิทธิพลจากผู้ใหญ่
-ปัญหาการศึกษา
-การปกป้องเยาวชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ ได้ว่าพวกเขาจะมีภูมิคุ้มกันจิตใจที่มีประสิทธิภาพสูง ยากที่จะสูญสลาย กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าทิศเบื้องบนขาดอริยวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้สมบูรณ์ การประพฤติปฏิบัติของอีก 4 ทิศ ก็จะเบี่ยงเบนจาก สัมมาทิฏฐิไป นั่นคือ แต่ละคนในแต่ละทิศย่อมขาดภูมิคุ้มกันจิตใจ จึง มีลักษณะนิสัยเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปตาม อิทธิพลของบุคคลที่แวดล้อมพวกเขา และตามแรงบุญ วิญญาณธาตุของแต่ละคนมาแต่กำเนิด บาปที่ติด ถ้าเป็นเช่นนี้ เยาวชนทั้งหลาย นอกจากจะไม่ได้รับการปลูก ฝังสัมมาทิฏฐิแล้ว ยังจะมีตัวอย่างผู้ใหญ่มิจฉาทิฏฐิ ให้ลอกเลียนแบบอีก ด้วย ดังปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน สิ่งที่เย้ายวนกิเลสในใจคนเรามากที่สุด ไม่มีอะไรเกินอบายมุข 5 บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันจิตใจเป็นอย่างดี ย่อมสามารถประคองตัวให้พ้น จากการเป็นทาสของอบายมุข แต่ในทางกลับกัน บุคคลที่ขาดภูมิคุ้มกัน จิตใจ คือบรรดามิจฉาทิฏฐิบุคคลทั้งหลาย ย่อมมีความนิยมชมชอบ อบายมุขเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีความเห็นผิดตั้งแต่เบื้องต้นว่า อบายมุข เป็นสิ่งที่ให้คุณแก่ชีวิตอยู่ไม่น้อย เช่น เด็กหนุ่มส่วนมากเห็นว่าการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การเที่ยวกลางคืน นอกจากจะทำให้เกิดความรื่นเริงบันเทิง ใจจากการเสพสิ่งเหล่านั้น และจากการร่วมวงสังสรรค์กันระหว่างเพื่อนฝูง แล้ว ยังจะได้รับประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้พวกเขารู้สึกเป็น “ลูกผู้ชาย" ได้เต็มภาคภูมิอีกด้วย ในปัจจุบันไม่เฉพาะเด็กหนุ่มเท่านั้น แม้เด็กสาวก็มีพฤติกรรม ทํานองเดียวกับเด็กหนุ่ม ซึ่งพฤติกรรม “ใจแตก” ของเยาวชนเหล่านั้น นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาเงินทองขาดมือแล้ว ยังเป็นอุปสรรคต่อความ สำเร็จด้านการศึกษาเล่าเรียนของพวกเขาอีกด้วย ๒๓๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More