การสร้างคุณสมบัติทางธรรมเพื่อความมั่นคงในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 329
หน้าที่ 329 / 397

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงความสำคัญของการสร้างคุณสมบัติและอริยทรัพย์ในพระพุทธศาสนา โดยการที่ญาติโยมมีความมั่นคงจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำบุญบารมีต่อไปในภพชาติใหม่ ด้วยความร่วมมือกันในสังฆมณฑล จะช่วยให้พระภิกษุมีเวลามากขึ้นในการบ่มบารมี การสร้างเครือข่ายวัดกัลยาณมิตรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาสังคมและสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีมากมายในสังคมไทยในปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

-คุณค่าของพระพุทธศาสนา
-การสร้างอริยทรัพย์
-ความร่วมมือในสังฆมณฑล
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-การมองสังคมไทยในปัจจุบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ ได้รับการต่ออายุให้ยืนยาวต่อไปอีก เพื่อเป็นที่พึ่งของลูกหลานชาวพุทธ และชาวโลกทั้งปวง ๔. ถ้าพระพุทธศาสนามีความมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ญาติโยม ย่อมมีโอกาสสร้างอริยทรัพย์มากขึ้น ญาติโยมเหล่านี้เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ คืออาจได้ถือกำเนิดในภพชาติใหม่ เป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม ไม่ไปสู่ทุคติ คือ นรก เปรต อสุรกาย ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีก ก็จะพรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยสมบัติ ๓ คือ รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ ไม่เป็นคนพิกลพิการ ยากจนข้น แค้น ปัญญาอ่อน ทำให้ได้โอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นการสร้างบุญ บารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก สามารถหลุดพ้นจากวงจรทุคติโดยเด็ดขาด 5. เมื่อญาติโยมโดยทั่วไปมีคุณสมบัติของกัลยาณมิตรแล้ว การ ปฏิบัติภาระหน้าที่อันเป็นอริยวินัยของพระภิกษุในสังฆมณฑลย่อมเพลาลง ทำให้สามารถมีเวลาบ่มบารมีของตนเองได้มากขึ้น ย่อมเป็นการย่นเวลา และหนทาง แห่งการบรรลุมรรคผลนิพพานให้เร็วขึ้น แท้ที่จริงการประสานความร่วมมือกันในสังฆมณฑล เพื่อสร้างเครือ ข่ายวัดกัลยาณมิตร อาจจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่กล่าวมาทั้ง ประการนี้ อย่างไรก็ตาม แม้เพียงคุณประโยชน์เพียง 5 ประการนี้ อาจมี บางท่านมองว่าเป็นความเพ้อฝัน ท่านใดก็ตามที่มีความคิดเช่นนี้ แสดง ว่านอกจากยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำโครงการต่างๆ แล้ว ยังขาด ความคิดสร้างสรรค์และมีความวิตกกังวลสูง ทำนองเดียวกับคนที่ว่ายน้ำ ไม่เป็น เมื่อเห็นน้ำลึกก็เกิดความหวาดวิตกนานัปการ ต่อเมื่อได้ฝึกว่ายน้ำ จนชำนาญแล้ว ย่อมมีความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าหาญ ถึงขั้นคิดจะ ว่ายข้ามแม่น้าทีเดียว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมไทยปัจจุบัน ที่มีปัญหาวิกฤติทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ก็เพราะผู้คนส่วนมากในสังคมของเราทุก ๓๑๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More