บทที่ ๖: การนอบน้อมและการสงเคราะห์ในชีวิต คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 181
หน้าที่ 181 / 397

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงการนอบน้อม และคุณสมบัติของคนดีที่มีอริยวินัย เช่น ขยันหมั่นเพียรและกล้าเผชิญอุปสรรค รวมถึงการสงเคราะห์คนอื่นเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในชีวิต ติดต่อเพื่อนที่ดี ทั้งยังมีการอธิบายเรื่องสังคหวัตถุ ๔ ที่ประกอบด้วยการให้ (ทาน) และเจรจาไพเราะ (ปิยวาจา) การทำเช่นนี้นำไปสู่ชื่อเสียงและบริวารในสังคม สร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-นอบน้อม
-อริยวินัย
-การสงเคราะห์
-คนดี
-ความสำเร็จ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๖ ในการนอบน้อมทิศทั้งหลาย อีกทั้งเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่แข็ง กระด้าง ไม่ดื้อรั้นต่อทิศ 5 ย่อมได้ยศ คือได้บริวาร และชื่อเสียง ๒. คนดีมีอริยวินัย ผู้เต็มเปี่ยมด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ เกียจคร้านในการทํางานต่างๆ มีความกล้าหาญ อดทน พร้อมที่จะเผชิญ กับอุปสรรคปัญหาโดยไม่หวั่นกลัวอันตรายใดๆ มีความประพฤติดีอยู่เป็นนิจ กอปรด้วยปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ สัมฤทธิผล ย่อมได้ยศ คือ ได้บริวารและชื่อเสียง ๓. คนดีมีอริยวินัย ผู้รักการสงเคราะห์คนอื่น รู้จักเลือกคบ แต่คนดีหรือมิตรแท้ ฉลาด รู้เท่าทันความประสงค์ของมิตรสหายที่มาหา แล้วช่วยเหลือเพื่อนให้สำเร็จความประสงค์นั้น โดยปราศจากความตระหนี่ ขณะเดียวกันก็มีความกล้าพอที่จะชี้แนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่เพื่อน หรือตักเตือนแนะนำเพื่อนในเรื่องต่างๆ ในลักษณะติเพื่อก่อ ด้วยความ ๑๖๗ ปรารถนาดี อย่างจริงใจ ผู้ที่กระทำเช่นนี้อยู่เสมอย่อมได้ยศ คือได้บริวาร และชื่อเสียง ผู้ได้ยศ คือได้บริวารและชื่อเสียง ย่อมถือได้ว่า เป็นคนดีที่ ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างงดงาม และการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะ ประสบความสำเร็จดังกล่าวได้ ก็เพราะมีทิศ 5 ผู้เป็นกัลยาณมิตร ลิขิต ชะตาชีวิตให้ คาถาประพันธ์ตอนที่ ๓ เป็นการอธิบายขยายความเรื่องก က สงเคราะห์ ซึ่งมีศัพท์เฉพาะว่า “สังคหวัตถุ ๔” ประกอบด้วย ๑. การให้ (ทาน) ๒. เจรจาไพเราะ (ปิยวาจา)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More