โรงเรียนกัลยาณมิตรและบทบาทในสังคม คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 303
หน้าที่ 303 / 397

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๘ กล่าวถึงการสร้างเครือข่ายบ้านกัลยาณมิตรที่สามารถช่วยส่งเสริมความดีในสังคมและจรรโลงชาติ บ้านกัลยาณมิตรทำให้สังคมมีความสงบสุขและเบิกบาน โดยเฉพาะโรงเรียนกัลยาณมิตรซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ โรงเรียนประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือระดับมัธยม มีหลักสูตรที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน ควรมีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานเหล่านี้เพื่อให้ได้ชื่อว่าโรงเรียนกัลยาณมิตรตามกำหนด

หัวข้อประเด็น

-เครือข่ายบ้านกัลยาณมิตร
-มาตรฐานการศึกษา
-คุณธรรมและจริยธรรม
-โรงเรียนเอกชนและรัฐบาล
-การสร้างสังคมสงบสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๘ ธรรมและความดีต่างๆ ได้อย่างเปิดเผย ไม่ต้องหลบซ่อนมือกฎหมาย เมื่อทาแล้ว นอกจากจะเป็นการสั่งสมบุญกุศลให้แก่ตนเองแล้ว ยังจะ สามารถจรรโลงสังคม และชาติบ้านเมืองให้มีความสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง อีกด้วย ไฉนพวกเราเหล่ากัลยาณมิตรจึงยังลังเลที่จะสร้างเครือข่ายบ้าน กัลยาณมิตรให้เกิดขึ้นอีกเล่า อย่าลืมว่าเครือข่ายบ้านกัลยาณมิตรยิ่งขยาย ออกไปมากเท่าใด เครือข่ายกัลยาณมิตรย่อมขยายตามไปพร้อมๆ กัน โรงเรียนกัลยาณมิตร เมื่อเอ่ยถึง “โรงเรียนกัลยาณมิตร" อาจมีผู้สงสัย ไม่เข้าใจว่าหมาย ถึงอะไรกันแน่ แท้ที่จริง โรงเรียนกัลยาณมิตร อาจจะเป็นโรงเรียนระดับ อนุบาล ระดับประถม ระดับมัธยม หรือโรงเรียนอาชีวศึกษาก็ได้ ทั้งอาจ จะเป็นโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนรัฐบาลก็ได้ทั้งสิ้น สิ่งสำคัญที่จะบ่ง บอกถึงความเป็นโรงเรียนกัลยาณมิตรก็คือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษา ที่ ๑ ด้านผู้เรียน ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็น มาตรฐานในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เมื่อกําหนดมาตรฐานไว้แล้ว ก็จำเป็นต้องมีหลักสูตร และ กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงจะได้ชื่อว่าโรงเรียนกัลยาณมิตร ២៨៩
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More