คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ หน้า 32
หน้าที่ 32 / 397

สรุปเนื้อหา

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์นำเสนอแนวคิดการทานในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความหมายกว้าง อาทิเช่น การให้วัตถุและการให้ธรรมะ การให้เงินทอง ปัจจัย 4 รวมถึงการให้ความรู้และการให้อภัย โดยมีสาระสำคัญคือ การแบ่งปันกันใช้เพื่อลดความโลภและสร้างความเข้าใจ การทำทานช่วยกำจัดความตระหนี่ พร้อมส่งผลให้เกิดความสุขแก่ผู้ให้และผู้รับ.

หัวข้อประเด็น

-การทานในพระพุทธศาสนา
-การแบ่งปัน
-ธรรมทาน
-อภัยทาน
-ผลของการทำทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คัมภีร์ปฏิรูปมนุษย์ แท้ที่จริงคำว่า “ทาน” ในพระพุทธศาสนา มีความหมายกว้าง มากกว่านั้น ในแง่ของการให้ ก็มีทั้งการให้ที่เป็นทั้งวัตถุ สิ่งของ และธรรมะ การให้ที่เป็นวัตถุสิ่งของ ได้แก่ การให้เงินทอง ปัจจัย ๔ ตลอด จนวัตถุสิ่งของที่นอกเหนือจากปัจจัย ๔ การให้ธรรมะ ได้แก่ การให้ความ รู้ทั่วไป การให้ความรู้ความเข้าใจทางธรรม ซึ่งมีคำเรียกว่า “ธรรมทาน ๔ นอกจากนี้ก็มี อภัยทาน (การให้ความปลอดภัย คือไม่ถือโทษโกรธ เคือง) อโหสิ ยกโทษให้ หรือไม่เอาโทษ) การเสียสละเวลาเพื่อช่วยผู้อื่น ทํากิจ ตลอดถึงการให้กำลังใจผู้อื่นด้วยปิยวาจา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญเบื้องต้นของการท่าทานในพระพุทธ ศาสนาอยู่ตรงเรื่อง การแบ่งปันกันกิน แบ่งปันกันใช้ โดยยุติธรรมเป็นการ ป้องกันไม่ให้แย่งกันกิน แย่งกันใช้ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอาปรียบกัน ไม่โกงกัน ใครจะได้ส่วนแบ่งมากบ้างน้อยบ้างก็ไม่เป็นไร เมื่อใครมีความเข้าใจถูกว่า สิ่งเช่นนี้ควรทำ ความโลภที่นอนเนื่องอยู่ในจิตใจมาตั้งแต่เกิด (อันเป็น ธรรมดาธรรมชาติของสัตวโลก) ก็ไม่สามารถกำเริบขึ้นมาหุ้มห่อบังคับจิตใจ ได้ ส่วนความโลภที่เคยกำเริบมาก่อนแล้ว ก็จะลดลงหรืออันตรธานไป ด้วย เหตุนี้ท่านผู้รู้จึงมักกล่าวว่า “การทำทานเป็นการกำจัดความตระหนี่ออกจากใจ" การคิดท้าทานทุกประเภททุกลักษณะ เช่น คิดแบ่งปันกันกิน คิดไม่เอาเปรียบกัน คิดให้อภัยกัน ล้วนแสดงความเป็นคนรู้จักคิดด้วย การใช้เหตุผล จนเกิดความเข้าใจถูกระดับหนึ่ง ซึ่งฟ้องว่าใจของเขาย่อม สว่างอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว กล่าวได้ว่า คราใดที่บุคคลคิดจะทำทานเพิ่มขึ้น แสดงว่า ความ สว่างและปัญญาอันเกิดจากความเข้าใจถูก แต่เดิมกำลังพัฒนาขึ้นในใจ ครั้นเมื่อได้ทําทานจริงๆ ตามที่คิด แล้วความสุขและความปีติทั้งของผู้รับ และผู้ให้ ย่อมเกิดตามมาอย่างแน่นอน เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More